Display mode (Doesn't show in master page preview)
Skip Ribbon Commands
Skip to main content

  • ​​​ประเทศมหาอำนาจมีแนวโน้มการเกิด Recession สูง ส่วนประเทศไทยมีแนวโน้มเพียง 13% จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และ การเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติ
  • สถานการณ์การลงทุนปี 2023 ยังมีความไม่แน่นอนสูง จากสถานการณ์ต่อเนื่องจากปีก่อน และ การเปิดประเทศของจีนในเดือนที่ผ่านมา
  • สองทางออกนักลงทุน 1) ทยอยลดสัดส่วนการลงทุน หาจังหวะขายรีบาวน์ มาพักในกองทุนตราสารหนี้ หรือ 2) เก็บกองทุนที่ศึกษาแล้วว่ามีอนาคต เพื่อรอรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
  • คำแนะนำการลงทุนช่วงนี้ แนะนำให้ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เพื่อลดความเสี่ยง และ ตั้งเป้าหมายการลงทุนระยะยาว

​        เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้มีประกาศเตือนของ IMF ว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่สภาวะ Recession หรือ เศรษฐกิจถดถอย ประกอบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ตลาดว่า 3 มหาอำนาจมีโอกาสเกิด Recession  ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ ที่มีโอกาส 65% , ยุโรป 80% รวมไปถึงอังกฤษและรัสเซียที่สูงถึง 90% ซึ่งทำให้วิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ หนักหนากว่าครั้งที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้เกิดขึ้น คือ
    • ราคาพลังงาน
    • ราคาอาหาร
    • ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
    • ความปั่นป่วนในตลาดเงินโลก



        สำหรับประเทศไทยแม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตที่ผ่านมา แต่โอกาสการเกิดนั้นน้อยเพียง 13% เท่านั้น เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าในปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามากกว่า 22 ล้านคน แม้จะยังไม่เท่ากับก่อนการเกิด COVID-19 แต่เมื่อประกอบกับการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ก็ทำให้เป็นตัวช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยได้เป็นอย่างดี

Recession คือ การบริโภค การจับจ่ายใช้สอย การลงทุนของภาคเอกชน การจ้างงาน รายได้ การใช้จ่ายของภาครัฐ และ การส่งออกลดลง ซึ่งหากค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ติดลบติดต่อกันเป็นเวลา 2 ไตรมาส จะเรียกว่าการถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession)

2 สัญญาณสำคัญ บ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สัญญาณบ่งชี้การเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่สังเกตได้ มี 2 สัญญาณสำคัญ ที่นักลงทุนจะสามารถนำมาประเมินสถานการณ์ และ เตรียมตัวรับมือล่วงหน้า ได้แก่
    • ​ผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลเกิดพลิกกลับจากสถานการณ์ปกติ (Inv​erted Yield Curve) : พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว โดยเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นก่อนภาวะเศรษฐกิจถดถอยแทบทุกครั้ง


    • ​ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ (Economic Indicators) : เมื่อเกิดการลดลงของดัชนีชี้วัด เช่น ตัวเลขการผลิตและการจ้างงาน , ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค , ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรายเดือน , ตัวเลขรายได้ที่แท้จริง ซึ่งทำให้คนในประเทศลดความต้องการจับจ่ายใช้สอย



ความท้าทายของการลงทุนที่ยังต้องเผชิญ

สถานการณ์การลงทุนในปี 2023 ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากปีก่อนหน้า โดยนักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อการตัดสินใจและดูจังหวะการเลือกสินทรัพย์การลงทุนได้อย่างเหมาะสมท่ามกลางวิกฤต
    • ดอกเบี้ยขาขึ้น : ธนาคารกลางทั่วโลกยังคงจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวด เพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงสูงอยู่ในหลายประเทศ
    • ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ : ปัญหารัสเซีย – ยูเครน ยังคงต่อเนื่องไม่สิ้นสุด และ อาจรุนแรงมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลในหลาย ๆ ประเทศ และอาจส่งผลต่อการค้าโลก เพราะ รัสเซียเป็นผู้ส่งออกสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะน้ำมัน
    • การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก : เกิดจากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตที่ลดลงอย่างมาก (ดัชนี PMI อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคธุรกิจอยู่ในภาวะหดตัว) 

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตแต่ละประเทศ


ขณะที่ประเด็นร้อนแรงของโลกในตอนนี้ คือ การกลับมาเปิดประเทศของจีน ที่ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจจีนดีขึ้น ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันของจีนน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปเป็นที่เรียบร้อย จากการเปิดประเทศในครั้งนี้เป็นความหวังของประเทศในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่น่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อของคนจีนที่เติบโตมากขึ้น



อีกหนึ่งมหาอำนาจขั้วตรงข้ามอย่างสหรัฐฯ ในด้านนโยบายทางการเงินยังคงมีความเสี่ยงสูงอยู่ในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจาก FED ยังคงมองว่าเงินเฟ้อเป็นความเสี่ยงสูงที่ต้องควบคุมเพื่อป้องกันผลกระทบในระยะยาว แม้จะคลายความกังวลได้บ้างจากอัตราที่ลดลงเข้าสู่ระดับ 2.9% จากระดับเป้าหมายที่ 2% ซึ่งการใช้นโยบายที่ตึงตัวอาจทำให้เศรษฐกิจเกิดการหดตัว และอาจมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐฯในเดือน มิ.ย. หากสภาคองเกรสไม่ขยายเพดานหนี้ยังกดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังนั้นการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ในครึ่งปีแรกนี้จึงยังมีความผันผวนสูงอยู่



ขาย หรือ สะสม ทางออกการบริหารการลงทุนที่ผันผวน

เมื่อสถานการณ์ผันผวนแบบนี้ โดยเฉพาะเมื่อกองทุนที่ถือครองติดลบมากกว่า 20% สิ่งที่ต้องคำนึงอย่างแรก คือ พิจารณากองทุนที่ถือครองอยู่ว่าเป็นการลงทุนในสินทรัพย์อะไร และ ราคาร่วงลงเพราะปัจจัยที่กระทบทั้งมหภาคใช่หรือไม่ เพราะ หากราคาร่วงลงจากปัจจัยดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะร่วงลงได้อีก โดยทางออกนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ทาง ดังนี้

    • ทยอยลดสัดส่วน และ หาจังหวะขายช่วงรีบาวน์ มาพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่รับการขาดทุนมากกว่านี้ไม่ไหว และ อยากถือเงินสดเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวเอง สามารถพักไว้ในกองทุนตราสารหนี้ คงเป็นคำแนะนำที่เหมาะสม
    • ไม่อยากขายขาดทุน หากศึกษาข้อมูลกองทุนที่ลงทุนแล้วยังเป็นกองทุนที่มีอนาคต การร่วงลง เป็นไปตามวัฏจักรของเศรษฐกิจ มีการเก็บข้อมูลสถิติในปีที่เกิดวิกฤติจะเห็นว่าแม้เศรษฐกิจจะไม่ดีหรืออยู่ในช่วงวิกฤติที่อาจได้รับผลขาดทุน แต่ส่วนใหญ่เมื่อเหตุการณ์นั้นจบลงการลงทุนก็จะกลับมาให้ผลตอบแทนที่ดีได้เสมอ
** ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจ



โอกาสการเข้าลงทุน ท่ามกลางความเสี่ยง Recession

หากนักลงทุนใดที่ยังมีความสนใจอยากเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ แม้จะอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ยังสามารถมองโอกาสของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มสินค้าสุขภาพ กลุ่มสินค้าจำเป็น กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน หรือ การกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์เพื่อลดความผันผวน นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี เนื่องจากในปัจจุบันผลตอบแทนของตราสารมีความน่าสนใจมากขึ้นจาก Yield ที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนช่วงภาวะที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจแบบนี้ มีคำแนะนำอยู่ 2 ข้อ ดังนี้
    • ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Average : DCA) อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดจากความผันผวน
    • ตั้งเป้าหมายการลงทุนอย่างน้อย 5 ปี เพราะ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวน เป้าหมายระยะสั้นมีโอกาสเห็นการขาดทุนได้สูงมากกว่า

ตารางผลตอบแทนหลังเกิดภาวะ Recession
ที่มา : Forbes.com​

บทความโดย
K WEALTH TRAINER กานต์พิชชา แดงพิบูลย์สกุล AFPTTM

กองทุนแนะนำที่เกี่ยวข้อง
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง

K-GINCOME-A(R)
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​

K-GINCOME-A(A)
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



K-GINCOME-SSF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



K-GINCOME-RMF
​อ่านรายละเอียดกองทุน
​ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS



ทำไมต้อง K-GINCOME?
    • กองทุนเน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกกว่า 3,000 สินทรัพย์
    • เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีการจ่ายรายได้สม่ำเสมอ
    • มีกลยุทธ์การลงทุนกว่า 550 กลยุทธ์และมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสินทรัพย์กว่า 50 คน ทำหน้าที่มุ่งหาโอกาสลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายรับสม่ำเสมอ

เหมาะกับใคร?
    • ผู้ลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและไม่มีเวลาปรับพอร์ตด้วยตนเอง
    • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง

K-GHEALTH
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​

K-GHEALTH(UH)
อ่านรายละเอียดกองทุน
ซื้อกองทุนผ่าน KPLUS

​​

ทำไมต้อง K-GHEALTH?
    • กระจายการลงทุนหุ้นสุขภาพในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ได้แก่ เวชภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพ บริการทางการแพทย์และเทคโนโลยีการแพทย์
    • แม้ในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีการรักษาพยาบาลหรือยาที่จำเป็นต้องใช้ยังปรับขึ้นราคาได้ตามเงินเฟ้อที่สูงขึ้น กองทุนกลุ่มสุขภาพจึงยังสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
    • ทีมผู้จัดการกองทุนหลักมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มหุ้นสุขภาพมากด้วยประสบการณ์เฉลี่ยกว่า 18 ปี

เหมาะกับใคร?
    • ผู้ลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนหุ้นต่างประเทศ สามารถรับความเสี่ยงได้
    • ผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
    • ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้


กลับ