ตลาดหุ้นทั่วโลกสะเทือนอีกครั้ง เมื่อเหตุการณ์ "Black Monday" เกิดขึ้นซ้ำรอยในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดัชนีหลักทั่วโลกดิ่งลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ประสบกับการลดลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ เหตุการณ์ครั้งนี้จุดชนวนความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก และกระตุ้นให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับอนาคตของตลาดหุ้น
เมื่อวันที่
5 สิงหาคม
2567 ตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงอย่างรุนแรง ซึ่งถูกเรียกว่า “Black Monday” อีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ปรับตัวลงมาอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี
2530 (ค.ศ. 1987) และหลังจากนั้นตลาดหุ้นก็กลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดหุ้นโลก และสหรัฐฯ ที่ตลาดหุ้นสามารถกลับมาที่ตำแหน่งเดิมได้ภายใน
1 สัปดาห์
ตาราง : ผลการดำเนินงานของดัชนีที่สำคัญ ตั้งแต่วันที่
1 มกราคม –
16 สิงหาคม
2567
ที่มา
Bloomberg
ปัจจัยฉุด กระทบตลาดหุ้นร่วง
สาเหตุของการร่วงลงอย่างรุนแรงมาจากหลากหลายประเด็น ได้แก่
-
ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ : ข้อมูลตลาดแรงงานในเดือนกรกฎาคมแสดงให้เห็นว่ามีการจ้างงานน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
-
การขายหุ้นของ
Warren Buffett : Warren Buffett ขายหุ้นของ
Apple ออกมาครึ่งหนึ่ง ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลและขายหุ้นตาม
-
การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น : การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นทำให้การกู้ยืมเงินเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงในสหรัฐฯ อาจไม่คุ้มค่าเท่าเดิม ทำให้เกิดการขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมาก
-
ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ : ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางทำให้นักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยเริ่มตกต่ำอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี
2566 โดย
SET Index ติดลบ
15% ในปีนั้น และยังคงลดลงต่อเนื่องในปี
2567 โดยตลาดหุ้นไทยเผชิญกับปัจจัยลบหลายประการที่ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ซึ่งรวมถึง
-
เศรษฐกิจโลกชะลอตัว : สงครามในยูเครน, การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ, และปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
-
ปัจจัยภายในประเทศ : ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูง, การบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอตัว, ปัญหาความไม่โปร่งใสและเสถียรภาพของรัฐบาล ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และเป็นปัจจัยที่กดดันให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นไทยจะฟื้นตัว จากเศรษฐกิจไทยและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเริ่มมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น และระดับราคาหุ้นที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ทำให้ความเสี่ยงด้านขาลงมีจำกัดมากขึ้น นอกจากนี้ทิศทางดอกเบี้ยโลกที่เริ่มกลับสู่ขาลง โดยเฉพาะแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งผลให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลงและเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น อีกทั้งการขยายตัวของการท่องเที่ยวและการค้าโลกอาจช่วยสนับสนุนตลาดหุ้นไทย
ตาราง :
Earning Growth (การเติบโตของกำไร) ของบริษัทจดทะเบียนใน
SET Index
มา
Bloomberg
ตาราง :
Earning Surprise (กำไรเกินคาด) ของบริษัทจดทะเบียนใน
SET Index
ที่มา
Bloomberg
ตาราง :
P/E Ratio
ที่มา
Bloomberg
โอกาสลงทุน เมื่อวิกฤติในตลาดหุ้นอาจกลายเป็นโอกาส
วิกฤติทางเศรษฐกิจมักส่งผลให้ราคาหุ้นทุกประเภท รวมถึงทั้งหุ้นเติบโต (Growth Stock) และหุ้นคุณค่า (Value Stock) ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว สร้างโอกาสให้นักลงทุนได้เข้าซื้อหุ้นดีในราคาที่น่าสนใจ เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย หุ้นเติบโตที่ยังมีศักยภาพสูงก็มักจะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่หุ้นคุณค่าก็จะให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ ทำให้ช่วงวิกฤตินับเป็นโอกาสทองในการลงทุนทั้งสองประเภทนี้
ตาราง : ข้อแตกต่างระหว่างหุ้นคุณค่า (Value Stock) และหุ้นเติบโต (Growth Stock)
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของสถานการณ์และความยากในการเลือกหุ้นที่ดี ทำให้การลงทุนในช่วงวิกฤติมีความเสี่ยงสูง การตัดสินใจที่เกิดจากความกลัวหรือความโลภ อาจยิ่งซ้ำเติมความเสี่ยงนี้ให้มากขึ้น ดังนั้นแนวทางการรับมือกับสถานการณ์ตลาดที่ผันผวน นักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยอาจพิจารณาจัดพอร์ตการลงทุนเป็นสองส่วนหลัก
Core Portfolio หรือพอร์ตการลงทุนหลัก เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ หรือกองทุนผสมที่มีสัดส่วนการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และหุ้น เพื่อสร้างฐานที่มั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุนและเหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ โดยจะเหมาะกับการลงทุนในระยะยาว
Satellite Portfolio หรือการลงทุนที่เน้นสร้างผลกำไรในระยะสั้น เน้นการจับจังหวะการลงทุน เช่น การแบ่งเงินบางส่วนมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง เช่น หุ้นรายตัว หรือกองทุนธีม เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไร และอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
วรสุดา ใช้เทียมวงศ์
CFP®
ผลิตภัณฑ์แนะนำที่เกี่ยวข้อง
K-FIXED-A
|
|
|
K-FIXEDPLUS-A
|
|
|
K-WPBALANCED
|
|
|
K-WPSPEEDUP
|
|
|
K-WPULTIMATE
|
|
|
K-GSELECT
|
|
|
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
ถือตราสารหนี้ ในวันที่ลดดอกเบี้ยเตรียมเป็นเสี่ยได้เลย
อ่าน
-
ลงทุนหุ้นโลก ตัวท็อป ผ่านกองทุน
K-GSELECT
อ่าน
-
ธีมลงทุน
2024 ไปท่าไหนมงจะลง ฝ่าความผันผวน
อ่าน
-
ธีมลงทุน
2024 ภาค
2 เจาะลึกกองทุนตามธีม
อ่าน
บทความอื่น ๆ ประจำเดือน
SPECIAL PRIVILEGE : สิทธิพิเศษจากแบรนด์ชั้นนำประจำเดือนกันยายน