ช็อตเงิน หมุนเงินไม่ทัน กู้ที่ไหนดี มีทางไหนช่วยได้บ้าง
ในสถานการณ์การเงินตึงตัว และธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดไม่ว่าจะขยายธุรกิจ ปรับเปลี่ยนธุรกิจใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้หรือหมุนเวียนในธุรกิจของเราเพิ่มขึ้น อย่างเช่น เปิดร้านเป็นอู่ซ่อมรถ หรือ ขายของไลฟ์สด แบบคนทำอาชีพอิสระ หรือ จะจ้างลูกจ้างแบบคนทำธุรกิจเป็นกิจลักษณะ หรือแม้แต่มนุษย์เงินเดือน ที่อยากจะได้เงินก้อนด่วนเพื่อเหตุฉุกเฉิน กับ 3 คำถามที่ตอบได้แล้วจะช่วยให้เพิ่มโอกาสได้เงินทุนนั้นมา มีอะไรบ้าง
อยากได้(วง)เงินกู้เท่าไหร่ ?
ถ้าเจอคำถามนี้ เป็นใครก็อยากได้เงินเยอะที่สุดเท่าที่จะให้ยืม(สินเชื่อ)ได้ แต่ก่อนจะไปถึงจุดที่บอกว่าอยากได้ (วง)เงินเท่าไหร่ แน่นอนว่า(วง)เงินที่ได้รับจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สำหรับเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ เจ้าของร้านค้าขายรายย่อย หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจไม่นาน และไม่มีหลักประกันที่จะนำไปขอสินเชื่อจากธนาคาร ธนาคารมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อด่วน ที่ลูกค้าสามารถยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารได้ ดังนี้
- สินเชื่อด่วนสำหรับผู้ประกอบการ สำหรับเจ้าของกิจการที่ต้องการวงเงินสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ หรือเพื่อขยายกิจการ สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
*วงเงินเฉพาะธุรกิจรายย่อย และไม่มีหลักประกัน หากเป็นสินเชื่ออื่นๆ สามารถขอ(วง)เงินได้มากหรือน้อยกว่านี้ได้
- สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค ในกรณีที่ผู้ขอสินเชื่อต้องการขอสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนตัว การยื่นขอวงเงินสินเชื่อจากธนาคาร จะได้รับวงเงินสินเชื่อมากหรือน้อยนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ หลักประกัน และความเร่งด่วนในการใช้วงเงินด้วย
หลักสำคัญในการขอสินเชื่อ คือ ตอบทั้งตัวเองและสถาบันการเงินให้ได้ว่าจะเอาเงินที่ได้ไปทำอะไร หรือ ภาษาธนาคารจะใช้คำว่า “วัตถุประสงค์ในการใช้วงเงินกู้ในครั้งนี้” เพราะสถาบันการเงินให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อช่วยให้คุณได้สินเชื่อ และจำนวนเงินที่เหมาะสม
ทำยังไงถึงจะได้(วง)เงินกู้ ?
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อน ขอสินเชื่อแล้วอาจจะได้รับอนุมัติสินเชื่อ แต่วงเงินแตกต่างกัน หรือ อาจจะไม่ได้รับอนุมัติก็ได้ ดังนั้น การเตรียมตัวให้พร้อมจะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะได้รับอนุมัติมากขึ้น มีดังนี้
- เตรียมเอกสารให้ครบและเป็นปัจจุบัน
- เอกสารส่วนตัวของผู้กู้ เพื่อระบุตัวตนของผู้กู้ได้ ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส / ใบสำคัญการหย่า / ใบมรณะบัตรของคู่สมรส, ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี), สำเนาทะเบียนการค้า (ถ้ามี), สำเนาหนังสือรับรองบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์, สำเนาบริคณห์สนธิ, สำเนาทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้น
- เอกสารแสดงรายได้หรือการเดินบัญชีเข้าออกของธุรกิจ เพื่อสะท้อนรายได้ที่แท้จริง ได้แก่ statement ย้อนหลัง 6 เดือน, บิลการค้า, สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน
- เอกสารเกี่ยวกับหลักประกัน (กรณีสินเชื่อรถช่วยได้) ได้แก่ สำเนาทะเบียนรถ, กรมธรรม์ประกันภัยชั้น 1 ชั้น 2 หรือ 2+ (ถ้ามี)
- เช็กภาระผ่อนที่มีปัจจุบัน
- สำรวจพฤติกรรมการผ่อนชำระหนี้ที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ ธนาคารอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม เพื่อประกอบการอนุมัติ
เพื่อประเมินว่า เมื่อรวมกับเงินกู้ก้อนใหม่ จะยังผ่อนชำระไหวไหม เช่น มีรายได้ 100,000 บาทต่อเดือน มีภาระผ่อนเดิมอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน (ผ่อนภาระหนี้ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้***) ในภาพรวมคือ ผ่อนไม่ควรเกิน 40,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น จะ(วง)เงินกู้ใหม่ จะผ่อนชำระเพิ่มได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน
หมายเหตุ : ***สินเชื่อบางประเภทอาจมีเกณฑ์ผ่อนชำระต่ำหรือสูงกว่านี้
ดูได้จากประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมา การเดินบัญชีเข้าออกของธุรกิจจะมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะขอสินเชื่อธุรกิจหรือสินเชื่อบุคคล
ดังนั้น การเตรียมเอกสารต่างๆประกอบการขอสินเชื่อ เช็กภาระเดิม(ถ้ามี) และพฤติกรรมการผ่อนชำระหนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติ(วง)เงินกู้
เตรียมทุกอย่างแล้วยัง กู้ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร ?
เป็นคำถามยอดฮิตมากสำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อไม่ผ่าน แต่เหตุผลของการปฏิเสธสินเชื่อ อาจจะมาจากเรื่องที่เกิดขึ้นไปแล้ว จะเตรียมตัวอย่างไรให้การขอสินเชื่อครั้งถัดไป มีโอกาสสูงขึ้นที่จะได้(วง)เงิน
- สำหรับคนที่เคยมีประวัติไม่ดีทางการเงิน
- กรณีไม่หมุนเวียนบัญชีกับธนาคาร
(เงินเข้า - ออก) - คนที่เอกสารไม่ครบ / ล่าช้า
- สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตหลายใบ
ให้ไปปรับปรุงพฤติกรรมการจ่ายคืนหนี้ในระบบ เช่น จ่ายเงินกู้ / หนี้บัตรเครดิต / หนี้อื่นๆ ให้ตรงตามกำหนดให้ดีอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 12 - 24 เดือน เพื่อให้สถาบันการเงินเห็นความตั้งใจในการผ่อนชำระที่ดี
ให้ปรับพฤติกรรมโดยหมุนเวียนผ่านบัญชีธนาคาร โดยให้มีการนำเงินรายได้ของธุรกิจเข้าบัญชีหรือให้ลูกค้าโอนเงินค่าสินค้าเข้าบัญชีทุกครั้งและเมื่อมีการจ่ายค่าสินค้าหรือค่าใช้จ่ายต่างๆในกิจการให้จ่ายเงินออกจากบัญชีสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือน พร้อมทั้งให้จดบันทึกรายรับรายจ่ายในสมุดทุกครั้ง
เอกสารส่วนใหญ่ที่มักจะเตรียมไม่ครบ ได้แก่ เอกสารที่แสดงรายได้ (สลิปเงินเดือน / หนังสือรับรองเงินเดือน / 50 ทวิ / statement ของทุกสถาบันการเงิน) หรือ บิลการค้า (บิลซื้อ / บิลขาย) เพราะฉะนั้น ถ้าถูกปฏิเสธเนื่องจากเอกสารไม่ครบ ให้เตรียมเอกสารและยื่นเรื่องใหม่โดยเว้นระยะเวลาตามที่ธนาคารกำหนด เช่น สินเชื่อเงินด่วนเพื่อธุรกิจ Xpress Loan ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อย 30 วัน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้วงเงินบัตรเครดิต แต่เพื่อเพิ่มโอกาสในการอนุมัติ ขอแนะนำให้ยกเลิกบัตรเครดิตที่ไม่ได้ใช้ เพราะสถาบันการเงินจะนำวงเงินของบัตรเครดิตทั้งหมดมาคำนวณเป็นภาระหนี้
ดังนั้น การเตรียมตัวด้วยการเดินบัญชีให้สม่ำเสมอ และรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดี ก็สามารถเพิ่มโอกาสเข้าถึงวงเงินได้จากสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยในการขอสินเชื่อ สามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารได้โดยตรง หรือ ช่องทาง LINE @kbanklive หรือ K-Contact Center 02-8888888
สนใจบทความที่ช่วยให้คุณรู้จริงเรื่องกู้
คลิกเลย