18 ส.ค. 63

บ้างานจนได้เรื่อง อาจสุขภาพดับก่อนรวย

คะแนนเฉลี่ย

ออมและลงทุน

​​​​บ้างานจนได้เรื่อง อาจสุขภาพดับก่อนรวย


          การทำงานหนัก คำๆนี้อาจตีความหมายได้ทั้งความหมายดี คือเป็นคนตั้งใจทำอย่างเต็มที่กับงานที่ได้รับ แต่หากเป็นความหมายไม่ดี อาจแปลว่าทำงานมากจนไม่สนใจเรื่องอื่นๆ หรือที่คนส่วนใหญ่นิยามว่า “บ้างาน” (Workaholic) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้แต่ละธุรกิจมีการแข่งขันสูง ตัวเลขเด็กจบใหม่ทยอยเข้ามาในตลาดมากขึ้น 


          คนบ้างานข้อดีคือ มุ่งมั่นกับการทำงาน ชอบการแข่งขัน ทะเยอทะยาน แต่อาจมีข้อเสียตามมาคือ ความเครียดสะสมที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพ การแบ่งเวลาที่กระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง รวมไปถึงปัญหาสุขภาพทางการเงิน ปัญหาเหล่านี้เป็นผลพวงมาจากวิธีคิดของคนบ้างานในหลายๆ ด้าน วันนี้ K-Expert จึงอยากจะมาบอก 3 ความเข้าใจผิดของคนบ้างานที่อาจส่งผลเสียตามมาในระยาว



1. “รวยก่อน แล้วค่อยดูแลสุขภาพ”

          ​​คนบ้างาน มักจะละเลยการดูแลสุขภาพทั้งเรื่องของการพักผ่อน การออกกำลังกาย อาหารการกิน และความเครียดสะสม ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็งสมอง หากเกิดเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 164,800 บาท (ที่มา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) หรือ โรคหัวใจ หากต้องขยายหลอดเลือดแดงด้วยบอลลูนที่ข้อมือ ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 185,000 บาท (ที่มา โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ) ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น อุปกรณ์พิเศษ ค่าปรึกษาทางการแพทย์ และยังไม่การันตีว่าจะรักษาหาย 1 ครั้งทันที นั่นแปลว่าเงินที่ทำงานมาอย่างหนัก สุดท้ายแทนที่จะเก็บไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต กลับต้องมาจ่ายเพื่อรักษาตนเองแทน

          เพื่อป้องกันไม่ให้เงินที่หามาได้อย่างยากลำบากต้องหมดไปกับค่ารักษาพลาบาล สามารถซื้อประกันสุขภาพ เพื่อสร้างความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ ก็เหมือนกับการซื้อประกันรถยนต์ ตัวอย่างเช่น สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ พลัส ที่ช่วยคุ้มครองการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงโรคร้ายแรงด้วย โดยมีทุนประกันเริ่มต้นที่ 20 ล้านบาท ค่าเบี้ยไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง เช่น หากอายุ 35 ปี จะจ่ายค่าเบี้ยอยู่ที่ 25,246 บาทต่อปี (แผนที่ 1 คุ้มครองเฉพาะประเทศไทย)ทั้งนี้ต้องซื้อประกันตัวหลักควบคู่ไปด้วย แต่ค่าเบี้ยไม่แพง เช่น ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/9 ยกตัวอย่าง ชายอายุ 35 ปี ทุน 100,000 บาท เบี้ยเพิ่มแค่ 4,487 บาทรวมแล้วแค่ 29,733 บาท เท่านั้นเอง แค่นี้ก็สบายใจไปส่วนหนึ่งแล้วว่าเงินที่ทำงานหามาจะได้ใช้อย่างแน่นอน



2. “เงินใช้ไปแล้ว เดี๋ยวหาใหม่ได้” 

          คนส่วนใหญ่มักมองประโยชน์เฉพาะหน้า มากกว่าที่จะมองประโยชน์ในระยะยาว เหมือนกับการออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในวัยเกษียณอย่างมีความสุข เทียบกับการซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ คนส่วนใหญ่มักเลือกการซื้อโทรศัพท์ก่อนการออมเงิน เพราะเมื่อซื้อแล้วได้ใช้ในทันที เป็นการสู้กันระหว่าง เหตุผลและอารมณ์ แม้ฝั่งเหตุผลจะรู้ประโยชน์จากการออมที่ชัดเจนแค่ไหน แต่บางคนก็ต้องแพ้ให้กับฝั่งอารมณ์ที่มีอิทธิพลเหนือกว่า กว่าจะรู้ตัวอีกทีว่าต้องออมก็เป็นเวลาที่ใกล้เกษียณ ทำให้หลายๆ คนเก็บเงินกันไม่ทันแล้ว หรือบางทีเกิดเหตุไม่คาดคิด ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ล่าสุดคือ สถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ใครหลายๆ คนได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจส่วนตัวหรือธุรกิจของนายจ้างต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว ทำให้รายรับที่เคยได้น้อยลงหรือบางคนไม่ได้เลย คนที่มีเงินเก็บอยู่บ้างก็พอจะประคองตัวไปได้ แต่ถ้าใครเคยใช้แบบเดือนชนเดือน แบบนี้ได้รับผลกระทบแน่นอน และถ้าสถานการณ์นี้ยืดเยื้อออกไป ยิ่งทำให้ปัญหาทางการเงินเพิ่มมากขึ้นแน่นอน


          กลับมาที่เรื่องเกษียณหากดูที่ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันสำหรับครัวเรือนต่างๆ ของคนกรุงเทพฯ และภาพรวมทั่วประเทศ 

​พื้นที่
​ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน
เดือนละ
​คำใช้จ่ายหลังเกษียณ 
ตลอดช่วงอายุ 60-85 ปี
(300 เดือน)
​ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนรวมเงินเฟ้อ 3% ในอีก 25 ปีข้างหน้า
เดือนละ
​คำใช้จ่ายหลังเกษียณรวมเงินเฟ้อ 3% ตลอดช่วงอายุ 60-85 ปี
(300 เดือน)
​กรุงเทพ
​34,127 บาท
​10,238,232 บาท
​71,455  บาท
​21,436,584 บาท*
​ทั่วประเทศ
​21,346 บาท
​6,403,800 บาท
​44,694  บาท
​13,408,135 บาท*
          * หลังเกษียณมีการลงทุนเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ

          ​พบว่าถ้าเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีอายุจนถึง 85 ปี คนกรุงเทพฯจะต้องมีเงินก้อนตอนอายุ 60 ปี เพื่อรองรับชีวิตหลังเกษียณอยู่ที่ 10,238,232 บาท และถ้าเป็นจังหวัดอื่นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6,403,800 บาท ณ ตอนอายุ 60 ปี คำถาม คือ ปัจจุบันมีแผนสำหรับเตรียมเงินก้อนนี้ไว้แล้วหรือยัง 


          นอกจากนี้ในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายมีการเพิ่มขึ้นทุกปี เช่น ก๋วยเตี๋ยวชามละ 25 บาท เมื่อ 10 ปีที่แล้วตอนนี้กลายเป็นชามละ 35-50 บาท หรือที่คนส่วนใหญ่มักได้ยินกันในคำว่าเงินเฟ้อ นั่นแปลว่าคนทำงานต้องเก็บเงินมากขึ้น เช่น เงินเฟ้อ 3% ต่อปี หากปัจจุบันอายุ 35 ปี หรือเกษียณในอีก 25 ปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครัวเรือนเมื่อรวมเงินเฟ้อเข้าไปด้วยสำหรับคนกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ 71,455 บาทต่อเดือน และจังหวัดอื่นๆ โดยเฉลี่ย 44,694 บาทต่อเดือน หมายความว่าเงินที่ต้องมีตอนอายุ 60 ปี เพื่อใช้สำหรับเกษียณจะเพิ่มขึ้นเป็น 21,436,584 บาท และ 13,408,135 บาท ตามลำดับ ดังนั้นหากไม่เริ่มเก็บตอนนี้ไปเริ่มตอนใกล้เกษียณก็อาจสายเกินไป



3. “มีเงินแล้ว ค่อยวางแผนการเงิน” 

          หากรอให้เริ่มมีเงินแล้วจึงเริ่มเก็บ จากตัวอย่างของคนกรุงเทพฯ อายุ 35 ปี ต้องเก็บเงินหยอดกระปุกถึง 71,455 ต่อเดือน หรือสำหรับจังหวัดอื่นๆ ต้องเก็บเดือนละ 44,694 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย

พื้นที่
​เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
โดยไม่มีการลงทุน​
​เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
เมื่อนำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 3% ต่อปี
เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
เมื่อนำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 5% ต่อปี
​เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน
เมื่อนำไปลงทุนให้ได้ผล​ตอบแทน 10% ต่อปี
​กรุงเทพ
​71,455บาท
​48,063 บาท
​35,997 บาท
​16,156 บาท
​ทั่วประเทศ
​44,694 บาท
​30,062 บาท
​22,515 บาท
​10,105 บาท​

​          หรือต่อให้ลงทุนที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี ต้องลงทุนเดือนละ 35,957 บาท และ 22,515 บาท สำหรับคนกรุงเทพฯ และภาพรวมทั่วประเทศตามลำดับ แล้วลองจินตนาการดูว่าหากรอไปอีก ต้องลงทุนเดือนละเท่าไร ยิ่งถ้าใครมีรายได้ที่ต้องเสียภาษี กองทุน RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกลงทุน เพราะนอกจากจะได้ผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ยังสามารถลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขได้ตั้งแต่ปีนี้อีกด้วย เรียกว่าวางแผนตั้งแต่ตอนนี้ นอกจากมีเงินเกษียณแล้ว ยังเห็นผลจากภาษีที่ลดลงตั้งแต่ตอนนี้เลย


          เคยมีคนบอกว่า “คนเรารู้วันเกิด แต่ใครจะรู้วันที่ตาย” บางคนมาช้า บางคนมาเร็ว หากวางแผนการเงินในชีวิตไว้ไม่ดีผลที่ได้ก็อาจส่งผลให้คุณภาพชีวิตแย่ลง มาเริ่มวางแผนการเงินให้กับชีวิตของตนนเองกันเถอะ เริ่มตั้งแต่วันนี้จะทำให้มีเวลาเตรียมตัวที่มากขึ้นนั่นเอง

** ที่มาข้อมูล “ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือน” จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2561





บทความที่เกี่ยวข้อง :


ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง :
​​ประกันภัยสุขภาพแบบอีลิท เฮลท์ พลัส 

​ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/9 

​กองทุน RMF ​

​​



ให้คะแนนบทความ

สราวุธ เจษฎางษ์กุล AFPT

ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย