11/03/2556

คอนกรีตซ่อมแซมตัวเองได้

นักวิจัยเกาหลีใต้พัฒนาสารเคลือบที่สามารถซ่อมแซมรอย แตกของคอนกรีตโดยกลายเป็นของแข็งหลังโดน
แสงอาทิตย์ ปูทางสู่การพัฒนาคอนกรีตซ่อมแซมตัวเอง

ที่ผ่านมามีความพยายามวิจัยพัฒนาหลากวิธีเพื่อตรวจหาร่องรอยความเสียหายของโครงสร้าง คอนกรีต และ
แรงกดดันที่ทำให้เกิด ความเสียหาย และพัฒนามาเป็นวิจัยวัสดุที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เวลานี้ศาสตราจารย์
ชาน-มูน ชุง ผู้เชี่ยวชาญด้านโพลีเมอร์ของมหา วิทยาลัยยอนเซในเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสาร
เคลือบ พื้นผิวที่บรรจุแคปซูลโพลีเมอร์ขนาด จิ๋วไว้จำนวนมาก เมื่อคอนกรีตมีรอยแยกจะทำให้แคปซูลนี้แตกตัว
ปล่อยของเหลวที่บรรจุไว้ภายในออกมาและไหลไปรวมที่รอยแยก เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะกลายเป็นของแข็งช่วย
ป้องกันคอนกรีตเสื่อมคุณภาพได้

ทั้งนี้ เมื่อคอนกรีตมีรอยแตก เล็กๆจะทำให้น้ำประจุคลอไรด์จากน้ำเค็มและคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป
ทำลายโครงสร้างภายในให้เสื่อมคุณภาพและสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างโดยรวมได้ อย่าง ไรก็ดี ต่อไปสาร
เคลือบใหม่อาจช่วยได้ ซึ่งในการทดสอบโดยพ่นสารนี้ลงไปบนพื้นผิวคอนกรีต แล้วใช้มีดกรีดให้คอนกรีตเป็น
รอยเล็กๆ จากนั้นนำไปตากแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมงพบว่ารอยเหล่านั้นหายไป ในขั้นต่อไปนักวิจัยจะค้นหา
ส่วนผสมของสารเคลือบที่ดีที่สุดเพื่อให้ใช้งานได้นานขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสามารถใช้งาน 1 ปีเท่านั้น