29/12/2552

ยักษ์วัสดุชิ่งหนีกระเบื้องจีน อินโด-มาเลย์คว้าส้มหล่น

จากกรณีผู้ผลิตกระเบื้องปูพื้นและบุผนัง 2 ราย ยื่นคำร้องในนามกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ให้พิจารณาออกมาตรการตอบโต้การทุ่ม ตลาด (แอนตี้ดัมปิ้ง) สินค้ากระเบื้องนำเข้าจากประเทศจีนทั้งแบบ เคลือบและไม่เคลือบ และขณะนี้กรมการค้า ต่างประเทศอยู่ระหว่างเปิดการไต่สวนข้อเท็จจริง และนำมาสู่การจัดแถลงข่าวเรื่อง "การใช้มาตรการตอบโต้การ ทุ่มตลาดสินค้ากระเบื้องเซรามิกที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน" โดยกลุ่มอุตสาห กรรมเซรามิกต้น สัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุด วันที่ 25 ธันวาคม 2552 กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายกระเบื้องและวัสดุตกแต่งรายใหญ่ทั้งที่เป็น กระเบื้องนำเข้าจากจีนและที่ผลิตในประเทศ อาทิ บุญถาวรเซรามิค แกรนด์โฮมมาร์ท โฮมโปร เซ็นทรัลพรีเมียร์ กรุ๊ป ฯลฯ ได้นัดหารือกับผู้แทนจากบริษัทผู้ผลิตกระเบื้อง 2 รายดังกล่าว คือ บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด และบริษัท โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) เพื่อสอบถามถึงที่มาที่ไปการยื่นคำร้องขอไต่สวน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการหารือกันเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ต่างฝ่ายต่างสงวนท่าทีและหารือกัน เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นหลัก โดยมีผู้นำเข้าและจำหน่ายกระเบื้องจากจีนเข้าร่วมกว่า 10 ราย ประกอบด้วยนายสิทธิศักดิ์ ทยานุวัฒน์ จากบริษัท บุญถาวรเซรามิค จำกัด, นางประไพ ทยานุวัฒน์ จากบริษัท แก รนด์โฮมมาร์ท จำกัด, นายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล จากโฮมโปร ฯลฯ ส่วนฝ่ายผู้ยื่นคำขอไต่สวนมี ดร.ปริญญา สายน้ำทิพย์ จากบริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด ผู้ผลิตกระเบื้องคอตโต้ และนายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการ บมจ. โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม ผู้ผลิตกระเบื้องอาร์ซีไอ พร้อมด้วยทีมงาน หลังการประชุมหนึ่งในผู้นำเข้าและจำหน่วยกระเบื้องกล่าวว่า ได้หารือกันโดยสอบถามถึงที่มาที่ไปในการยื่นคำ ขอให้ออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกระเบื้องนำเข้าจากจีน ได้รับการชี้แจงว่าปัญหาทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจาก โรงงานผู้ผลิตกระเบื้องจีนมีการทุ่มตลาดในอัตรา 97% ของราคากระเบื้องที่ขายในประเทศ แต่ทั้งคอตโต้และ อาร์ซีไอปฏิเสธที่จะแสดงข้อมูลรายละเอียดทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอไต่สวน ในส่วนของบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายกระเบื้องจึงได้หารือร่วมกัน และได้ข้อสรุปว่าแต่ละรายจะยื่นข้อมูลต่อ กรมการค้าต่างประเทศ เพื่อแสดงข้อเท็จจริงว่าการนำเข้ากระเบื้องจากจีนมีการดัมพ์ราคาหรือไม่อย่างไร โดยจะ เร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด และจะนัดหารือกลุ่มผู้ผลิตอีกครั้งหนึ่ง นายณัฏฐ์กล่าวว่า ทราบดีว่าผู้ค้ากระเบื้องทุกรายต่างกังวลว่าภาครัฐจะออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดกระเบื้อง เร็ว ๆ นี้ แต่ในข้อเท็จจริงได้ชี้แจงไปว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการออกแบบสอบถามไปถึงโรงงานผู้ผลิต กระเบื้องในจีน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายกระเบื้องภายในประเทศ เบ็ดเสร็จต้องใช้เวลาใน ขั้นตอนนี้ 67 วัน และยังต้องมีขั้นตอนตรวจสอบต่อไปก่อนจะพิจารณาชี้ขาด นอกจากนัดหารือกับบริษัทผู้ยื่นคำร้องขอไต่สวนเรื่องนี้แล้ว เวลานี้กลุ่มผู้นำเข้าและจำหน่ายกระเบื้องต่างพยายาม หาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อม ๆ กับเร่งนำเข้ากระเบื้องจากจีนเพื่อสต๊อกสินค้าในช่วงนี้ เนื่องจากกังวลว่า ภาครัฐอาจมีใช้มาตรการ "ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราว" ในระหว่างที่มีการเปิดไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งจะ ส่งผลให้การนำเข้ากระเบื้องจากจีนมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันบางรายเริ่มวางแผนปรับเปลี่ยนมานำเข้ากระเบื้องจากแหล่งอื่นแทน ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย ทดแทน เนื่องจากปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าลดลงเหลือ 0% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก ประมาณ การในปี 2551 ที่ผ่านมา มีการนำเข้ากระเบื้องจากทั้ง 3 ประเทศรวมกันประมาณ 4 ล้าน ตร.ม. คิดเป็นสัดส่วน 25% ของการนำเข้ากระเบื้องทั้งปี แหล่งข่าวจากวงการผู้นำเข้าและจำหน่ายกระเบื้อง-วัสดุตกแต่งรายใหญ่ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ใน วงการผู้นำเข้าและจำหน่ายต่างวิเคราะห์กันว่ามีความเป็นไปได้สูงที่กรมการค้าต่างประเทศจะออกประกาศใช้ มาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดชั่วคราวในระหว่างที่มีการเปิดไต่สวนข้อเท็จจริง ขณะนี้จึงมีความพยายามจะ เร่ง สต๊อกสินค้าให้ได้มากที่สุดก่อนที่อัตราภาษีนำเข้าจะปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าปัจจุบันโรงงานผู้ผลิตกระเบื้องในจีนส่วนใหญ่ได้หยุดการรับออร์เดอร์สั่งซื้อช่วงก่อนปีใหม่ เพื่อเตรียมตัวปิดเตาเผากระเบื้องเป็นการชั่วคราวในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะมาถึง เพราะในการปิดเตาเผาแต่ละ ครั้งจะต้องเตรียมการแต่เนิ่น ๆ โดยค่อย ๆ ลดอุณหภูมิภายในเตาทีละน้อย ไม่เช่นนั้นเครื่องจักรจะเกิดความ เสียหาย ทำให้ไม่สามารถสต๊อกกระเบื้องจากเมืองจีนในช่วงนี้ได้ นายวัฒนา โฆษิตเจริญกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์ สุขภัณฑ์ เซรามิค จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและ จำหน่ายกระเบื้อง-วัสดุตกแต่ง กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลกระเบื้องจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย โดยเปรียบเทียบคุณภาพ ราคา และความแตกต่าง เพื่อนำเข้ามาทดแทน กระเบื้องจากจีนในอนาคต หากภาครัฐตอบโต้การทุ่มตลาดด้วยการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าเป็น 100% เพราะจะ ส่งผลให้ราคาขายกระเบื้องเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากการศึกษาข้อมูลพบว่าปัจจุบันกระเบื้องแกรนิตโต้ขนาด 60x60 เซนติเมตร ที่นำเข้าจากจีนส่วนใหญ่มีราคา ขายเฉลี่ย ตั้งแต่ 160-250 บาท/ตร.ม. (ขึ้นกับเกรดสินค้า) หากถูกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดคาดว่าราคาจะ ปรับขึ้นเป็น 320-500 บาท/ตร.ม. เมื่อเทียบกับกระเบื้องนำเข้าจากทั้ง 3 ประเทศ เบื้องต้นบริษัทให้ความสนใจ กระเบื้องจากอินโดนีเซียมากที่สุด เพราะคำนวณแล้วต้นทุนต่ำกว่า 50-100 บาท/ตร.ม. ส่วนกระเบื้องจาก มาเลเซีย น่าจะมีต้นทุนใกล้เคียงกัน ขณะที่กระเบื้องจากเวียดนามพบว่ามีต้นทุนค่าขนส่งทางเรือสูงกว่าประเทศ อื่น ๆ>