“
-
กองทุน Thai ESG ที่คาดว่าจะเพิ่มเพดานการใช้สิทธิและลดเงื่อนไขเวลาถือครองลงในปี 2567 ลงทุนได้สูงสุดถึง 300,000 บาท* โดยไม่รวมสิทธิกับกองทุน SSF กองทุน RMF ฯลฯ
-
กองทุน Thai ESG เหมาะกับคนที่ต้องการลงทุนสั้นๆ 5 ปีเต็ม* ยอมรับการลงทุนกระจุกตัวในประเทศไทย และเป็นสินทรัพย์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้
-
กองทุน Thai ESG ของ บลจ.กสิกรไทย มีทั้งกองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นไทย ความเสี่ยงสูง เช่น K-TNZ-ThaiESG และกองทุนที่เน้นลงทุนตราสารหนี้ไทย ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เช่น K-ESGSI-ThaiESG
“
กองทุน Thai ESG
กองทุนลดหย่อนภาษีน้องใหม่ ที่เริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่ปี 2566 และในปี 2567 มีการขยายเพิ่มเพดานการใช้สิทธิและลดเงื่อนไขระยะเวลาการถือครองลงด้วย จึงเรียกได้ว่าอาจเป็นน้องใหม่ที่จะได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ ของคนที่ต้องการเก็บออมหรือลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
I: กองทุน Thai ESG คืออะไร? เข้าใจความหมายและความสำคัญ
กองทุน Thai ESG มีชื่อเต็มว่า Thailand ESG Fund หรือกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน ที่ออกมาเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน และสินทรัพย์อื่นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านความยั่งยืน (sustainability) หรือด้าน ESG ผ่านกองทุนรวมที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยแต่ละตัวอักษรของ ESG มีความหมาย ดังนี้
- E = Environmental (สิ่งแวดล้อม) หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุดและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น การใช้วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิต การส่งเสริมการใช้รถยนต์ EV หรือลดการใช้พลังงานอย่างการเดินทางที่ไม่จำเป็นลง เป็นต้น
- S = Social (สังคม) หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กร พนักงาน ผู้อยู่อาศัยรอบโรงงาน/องค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในองค์กร การส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชนใกล้เคียง เป็นต้น
- G = Governance (ธรรมาภิบาล) หมายถึง ความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ และสามารถตรวจสอบได้
จากข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ ก.ล.ต. ณ 13 ก.ค. 67 พบว่ามีกองทุน Thai ESG จำนวน 24 กองทุน แบ่งเป็น (1) กองทุนหุ้น 18 กองทุน (2) กองทุนผสม 3 กองทุน และ (3) กองทุนตราสารหนี้ 3 กองทุน ตัวอย่างเช่น
- กองทุน K-TNZ-ThaiESG ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทย ของบริษัทที่อยู่ในดัชนี SET100 ที่มีการตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความเสี่ยงกองทุนอยู่ที่ระดับ 6
- กองทุน K-ESGSI-ThaiESG ที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน และเกี่ยวข้องกับ ESG ความเสี่ยงกองทุนอยู่ที่ระดับ 3
II: ลงทุนกองทุน Thai ESG ลดหย่อนภาษีได้อย่างไร?
แน่นอนว่าการลงทุนในกองทุน Thai ESG ยิ่งมาก ตราบเท่าที่ยังไม่เกินสิทธิ ย่อมได้เงินคืนภาษีหรือประหยัดภาษีได้มากยิ่งขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับคนที่มีรายได้ต่างกัน ด้วยเงินลงทุนกองทุน Thai ESG ที่เท่ากัน เช่น 1 แสนบาท ภาษีที่ประหยัดได้ก็ไม่เท่ากันด้วย อย่างเงินลงทุน 1 แสนบาท ภาษีที่ประหยัดได้ ขึ้นกับรายได้และค่าลดหย่อนของแต่ละคน เช่น
เงินเดือน
|
ฐานภาษี
| ภาษีที่ประหยัดได้
|
เดือนละ 35,000 บาท
| 5%
| ปีละ 5,000 บาท
|
เดือนละ 50,000 บาท
| 10%
| ปีละ 10,000 บาท
|
เดือนละ 85,000 บาท
| 20%
| ปีละ 20,000 บาท
|
เดือนละ 190,000 บาท
| 30%
| ปีละ 30,000 บาท
|
| คำนวณเบื้องต้นจากค่าใช้จ่าย 40(1) ตามกฎหมาย โดยไม่มีรายได้อื่น
มีค่าลดหย่อนส่วนตัวและประกันสังคม เท่านั้น |
III: กองทุน Thai ESG vs กองทุนลดหย่อนภาษีอื่น
|
กองทุน Thai ESG
|
กองทุน SSF
|
กองทุน RMF
|
สินทรัพย์ที่ลงทุนได้
| เน้นลงทุนภายในประเทศไทย ในตราสารหนี้ ตราสารทุน หรือสินทรัพย์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านความยั่งยืนหรือด้าน ESG
| ลงทุนได้ทั้งภายในประเทศไทยและต่างประทศ ในสินทรัพย์หลากหลาย ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือก |
ลงทุนได้สูงสุด | 30%ของเงินได้พึงประเมินทั้งปีที่เสียภาษี (เช่น เงินเดือนและโบนัสรวมทั้งปี ก่อนหักประกันสังคม และภาษีหัก ณ ที่จ่าย) |
300,000 บาท*
| 200,000 บาท
| 500,000 บาท
|
กองทุน SSF + กองทุน RMF + เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กบข. + กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน + กอช. ใช้สิทธิได้รวมกันสูงสุด ปีละ 500,000 บาท |
ระยะเวลาลงทุน | ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่อง
| ลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม |
เงินลงทุนแต่ละครั้ง ต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปีเต็ม* นับแบบวันชนวัน
| เงินลงทุนแต่ละครั้ง ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปีเต็ม นับแบบวันชนวัน
|
เหมาะกับใคร
| - ต้องการระยะเวลาการลงทุนสั้นที่สุด ที่ 5 ปีเต็ม*
- ยอมรับการลงทุนกระจุกตัวในประเทศไทย และเป็นสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้
| อายุน้อยกว่า 45 ปี
| อายุ 45 ปีขึ้นไป
|
ต้องการลงทุนสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ฯลฯ
|
ตัวอย่างกองทุนแนะนำ ของ K WEALTH เดือน ก.ค. 67 | - K-TNZ-ThaiESG เน้นลงทุนหุ้นไทย
- K-ESGSI-ThaiESG เน้นลงทุนตราสารหนี้ไทย
| - K-VIETNAM-SSF, K-USA-SSF เน้นลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- K-GINCOME-SSF ลงทุนสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก
- K-SF-SSF เน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น | - KWPULTIRMF KUSARMF เน้นลงทุนหุ้นต่างประเทศ
- KWPBALRMF ลงทุนสินทรัพย์หลากหลายทั่วโลก
- KSFRMF เน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
|
นอกจากกองทุนแล้ว (1) ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตเพื่อบำนาญ ที่เน้นผลตอบแทนที่แน่นอนตามสัญญา (2) ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ ที่สร้างความคุ้มครองชีวิตหลักล้านได้ด้วยเบี้ยไม่ถึงแสนบาท (3) ประกันสุขภาพ ที่สร้างวงเงินค่ารักษาพยาบาลหลักล้านได้ด้วยเบี้ยหลักหมื่นบาท ก็สามารถนำเบี้ยไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขสรรพากรเช่นกัน
IV: กองทุน Thai ESG มีอะไรบ้าง? วิธีการลงทุนในกองทุน Thai ESG
กองทุน Thai ESG ของแต่ละ บลจ. มีทางเลือกจำกัด โดยลงทุนเพียงบางกลุ่มสินทรัพย์เท่านั้น เช่น หุ้นและตราสารหนี้ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านความยั่งยืนหรือด้าน ESG ของประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทย ณ 26 มิ.ย. 67 พบว่าหลักทรัพย์ด้าน ESG ของประเทศไทยจำกัดใน หุ้นไทย 209 บริษัท และ ESG Bond 122 รุ่น โดยกองทุน Thai ESG ปัจจุบันมีเพียงกองทุนหุ้นไทย กองทุนผสม และกองทุนตราสารหนี้ไทย เท่านั้น ดังนั้นการลงทุนกองทุน Thai ESG แต่ละครั้งจึงมักเป็นการถือครองจนครบระยะเวลา 5 ปีเต็ม* เพราะมีทางเลือกการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนที่จำกัด ดังนั้นการลงทุนแต่ละครั้งควรพิจารณาจาก
- สัดส่วนการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงสูง ณ ปัจจุบัน หาก
- อยู่ในสัดส่วนที่สูง เทียบกับเงินลงทุนรวม >> แนะนำกระจายเงินลงทุนไปกองทุน Thai ESG ตราสารหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมลง เช่น K-ESGSI-ThaiESG
- อยู่ในสัดส่วนที่ต่ำ เทียบกับเงินลงทุนรวม >> แนะนำเพิ่มผลตอบแทนระยะยาวให้กับพอร์ตลงทุน ด้วยกองทุน Thai ESG ตราสารทุน เช่น K-TNZ-ThaiESG หากยอมรับความเสี่ยงได้ หรือเงินลงทุนในกองทุน Thai ESG เป็นเพียงเงินลงทุนส่วนน้อย
- ประสบการณ์ลงทุน
- มีประสบการณ์ลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยง >> แนะนำกองทุน Thai ESG ตราสารทุน เพื่อผลตอบแทนระยะยาว เช่น K-TNZ-ThaiESG
- ไม่มีประสบการณ์ลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยง หรือมีประสบการณ์แต่น้อย >> แนะนำแบ่งเงินลงทุนเป็น 2 ส่วน เช่น 50:50 เพื่อลงทุนกองทุน Thai ESG ที่เป็นกองทุนหุ้น K-TNZ-ThaiESG และกองทุน Thai ESG ที่เป็นตราสารหนี้ K-ESGSI-ThaiESG เพื่อให้มีโอกาสเห็นความแตกต่างของผลตอบแทนและความเสี่ยงแต่ละกองทุน และตัดสินใจสับเปลี่ยนไปลงทุนกองทุน Thai ESG ที่ชื่นชอบในภายหลังได้
ทางเลือกการวางแผนภาษีมีอยู่มากมาย ไม่จำกัดแต่เพียงการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน Thai ESG ที่เน้นลงทุนในไทยเท่านั้น แต่ยังมีกองทุน SSF/RMF ที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย หรือประกันชีวิตสะสมทรัพย์ที่ช่วยล็อกผลตอบแทนระยะยาวได้ ผู้มีเงินได้ที่มีภาระต้องเสียภาษี อย่าลืมศึกษาเทคนิคดีๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงและอัปเดตอยู่เสมอด้วยการติดตามข้อมูลดีๆ จากทีมงาน K WEALTH
* ณ มิ.ย. 67 สรรพากรอยู่ระหว่างพิจารณาลดเวลาถือครอง และเพิ่มเพดานสิทธิลงทุนสูงสุด
ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, สำนักงาน ก.ล.ต.
Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”, “ทำความเข้าเงื่อนไขการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและผลกระทบหากทำผิดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจลงทุน”