NotiPass_80%แจ้งปิดระบบ K-Trade Connect ในวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เวลา 22:00 น. ถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2562 เวลา 02:00 น.
$รายละเอียดเพิ่มเติม%/th/announcement/Pages/SystemMaintenanceK-Trade-Connect.aspx/
22/1/2564
มาตราการช่วยเหลือลูกค้าบุคคล
Page Content
ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน
ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร
มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563
บัตรเครดิตกสิกรไทย
จาก 18% เป็น 16%
บัตรเงินด่วน
จาก 28% เป็น 25%
สินเชื่อเงินด่วน
จาก 28% เป็น 25%*
*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติ
ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป
สินเชื่อรถ
สินเชื่อรถช่วยได้
ประเภทจำนำทะเบียนรถ
จาก 28% เป็น 24%*
*มีผลเฉพาะสินเชื่อที่อนุมัติ
ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป
ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน
คุณสมบัติของลูกค้าที่สามารถเข้าร่วม
- ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
หลักเกณฑ์ทั่วไป
- การเข้ามาตรการไม่ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ และไม่คิดค่าปรับการชำระหนี้ก่อนกำหนด
- หากลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ได้ให้เข้ามาปรึกษาธนาคารเพื่อเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคาร
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
สินเชื่อบ้านกสิกรไทย
และสินเชื่ออื่น ๆ
มาตรการช่วยเหลือ
ให้บ้านช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้ ด้วยมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยการรวมหนี้ประเภทต่าง ๆ ที่ธนาคารกำหนด สำหรับลูกค้าที่มีสินเชื่อบ้านกสิกรไทย
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการช่วยเหลือ
ทางเลือกที่ 1
พักชำระเงินต้น
จ่ายแต่ดอกเบี้ย
เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
*หากท่านเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
ทางเลือกที่ 2
เปลี่ยนยอดคงค้าง
เป็นผ่อนชำระ 48 งวด
ดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี**
**ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน กรณีเลือกทางเลือกนี้
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการช่วยเหลือ
ทางเลือกที่ 1
พักชำระเงินต้น
จ่ายแต่ดอกเบี้ย
เป็นเวลา 6 รอบบัญชี นับจากเดือนที่ลงทะเบียน
*หากท่านเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
ทางเลือกที่ 2
เปลี่ยนยอดคงค้าง
เป็นผ่อนชำระ 48 งวด
ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี**
**ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน กรณีเลือกทางเลือกนี้
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการช่วยเหลือ
ทางเลือกที่ 1
พักชำระเงินต้น
จ่ายแต่ดอกเบี้ย
เป็นเวลา 6 รอบบัญชี
*หากท่านเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้นจ่ายแต่ดอกเบี้ยอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
ทางเลือกที่ 2
ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม
เป็นเวลา 6 รอบบัญชี
ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการช่วยเหลือ
ทางเลือกที่ 1
จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย
และลดอัตรา
ดอกเบี้ยลง 0.1%
เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 2
ลดค่างวด 50%
ของค่างวดเดิม
เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 3
พักชำระเงินต้น
และดอกเบี้ย
เป็นเวลา 3 เดือน
หมายเหตุ: ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 2 และ ทางเลือกที่ 3 ยังมีการคำนวณดอกเบี้ยตามปกติ
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
สินเชื่อเงินด่วน
แบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ
มาตรการช่วยเหลือ
ทางเลือกที่ 1
จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย
เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 2
ลดยอดผ่อน
ชำระ 30%
เป็นเวลา 3 เดือน
ทางเลือกที่ 3
พักชำระเงินต้น
และดอกเบี้ย
เป็นเวลา 3 เดือน
หมายเหตุ: ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 2 และ ทางเลือกที่ 3 ยังมีการคำนวณดอกเบี้ยตามปกติ
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
มาตรการช่วยเหลือ
ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม ตลอดอายุสัญญา อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี
ประเภทสินเชื่อ
มาตรการช่วยเหลือ
สินเชื่อรถ
สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทโอนเล่มทะเบียนรถ /
สินเชื่อรถ (รถใหม่) /
สินเชื่อรถ (รถใช้แล้ว)
มาตรการช่วยเหลือ
ทางเลือกที่ 1
พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย
เป็นเวลา 3 เดือน
โดยขยายเวลาผ่อนชำระอีก 3 เดือน
ทางเลือกที่ 2
ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม
เป็นเวลา 6 เดือน
โดยขยายเวลาผ่อนชำระอีก 3 เดือน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม: พิมพ์ @help ผ่านช่องทาง
หรือ www.kasikornleasing.com
ช่องทางลงทะเบียน
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564
คำถามที่พบบ่อย
- ทั่วไป
- บัตรเครดิต
- บัตรเงินด่วน
- สินเชื่อเงินด่วน
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
- สินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ
มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยสำหรับลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ธนาคารช่วยเหลือผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือประกอบด้วย บัตรเครดิต, บัตรเงินด่วน Xpress Cash, สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan, สินเชื่อเงินด่วน แบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (KCL) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และ สินเชื่อรถยนต์
คุณสมบัติของลูกค้าที่จะเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยเป็นอย่างไร
- ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยผ่านช่องทางใดบ้าง และลงทะเบียนได้เมื่อใด
ลูกค้าสามารถลงทะเบียน พิมพ์ @help ผ่านช่องทาง LINE KBank Live ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 มิถุนายน 2564
ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยมีวิธีการอย่างไร
ลูกค้าสามารถลงทะเบียน พิมพ์ @help ผ่านช่องทาง LINE KBank Live หรือ K-Contact Center 02-8888888 หรือ K-Biz Contact Center 02-8888822
หากลูกค้ามีผลิตภัณฑ์ของธนาคารมากกว่า 1 ผลิตภัณฑ์ สามารถขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยได้ทุกผลิตภัณฑ์หรือไม่
ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเข้ามาตรการได้ทุกผลิตภัณฑ์ตามที่ธนาคารมีประกาศเรื่องมาตรการช่วยเหลือ
ลูกค้าที่เคยลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือแล้ว สามารถขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยในครั้งนี้ ได้หรือไม่
ลูกค้าสามารถเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือได้ ตามเงื่อนไขของแต่ละผลิตภัณฑ์
ลูกค้าสามารถตรวจสอบรายละเอียดมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยได้ที่ไหนบ้าง
ลูกค้าจะทราบผลการลงทะเบียนผ่านช่องทางใด
ภายหลังจากลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการผ่านช่องทาง LINE KBank Live ธนาคารจะแจ้งระยะเวลาในการดำเนินการให้ลูกค้าทราบ ผ่าน SMS /e-mail
ขั้นตอนการสมัคร K PLUS ทำอย่างไร
ขั้นตอนการเปิดบัญชี K-eSaving ทำอย่างไร
หากลงทะเบียนเข้ามาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการแล้ว สามารถยกเลิกได้หรือไม่
ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์และทางเลือกที่ลูกค้าเลือก ทั้งนี้ขอแนะนำให้ศึกษารายละเอียดก่อนเข้าร่วมมาตรการ
หากลงทะเบียนเข้ามาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการแล้ว สามารถขอสินเชื่อประเภทอื่นๆ ได้หรือไม่
ลูกค้าสามารถยื่นขอสินเชื่อต่างๆ กับธนาคารได้ตามปกติ ทั้งนี้การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร
มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยของบัตรเครดิตทั้งหมดมีกี่ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1: พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 รอบบัญชี
ทางเลือกที่ 2: เปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวด อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี **ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน รวมทั้งบัตรเสริม กรณีเลือกทางเลือกนี้**
หากเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ยไว้แล้ว สามารถเข้าร่วมได้หรือไม่
หากท่านเข้าร่วมมาตรการเดิมอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
มาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิตเป็นผ่อนชำระ 48 งวดมีเงื่อนไขในการเข้าร่วมและรายละเอียดอย่างไร
- เป็นลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
- ลูกค้าต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย
- ผู้ลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการต้องเป็นบัตรหลักเท่านั้น
- ลูกค้าต้องมีบริการ K PLUS เพื่อรับสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (e-contract) และต้องมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคาร ซึ่งบัญชีต้องเป็นบัญชีชื่อเดียวกับผู้ยื่นคำขอสินเชื่อ เป็นชื่อบัญชีเดี่ยวเท่านั้น ไม่เป็นบัญชี “และ” “หรือ” “เพื่อ”
สำหรับการหักชำระค่างวด / ค่าอากรแสตมป์
- เมื่อลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้ว ธนาคารจะดำเนินการรวมยอดคงค้างทุกบัตร รวมทั้งบัตรเสริม เพื่อเปลี่ยนเป็นยอดผ่อนชำระ และธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่านทุกบัตร รวมทั้งบัตรเสริม
- กรณีลูกค้ามีรายการผ่อนชำระรายเดือน (Smart Pay / Smart Cash) ธนาคารจะดำเนินการปิดยอดผ่อนชำระทั้งหมด และรวมกับยอดคงค้างอื่น เพื่อเปลี่ยนเป็นยอดผ่อนชำระ 48 งวด อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี และจะคิดอัตราดอกเบี้ยทั้งก้อนด้วยอัตราดอกเบี้ย
12% ต่อปี
- กรณีลูกค้ามีคะแนนสะสมคงเหลือ กรุณาแลกคะแนนสะสมก่อนเข้าร่วมมาตรการ เนื่องจากหลังจากเข้าร่วมมาตรการแล้วจะไม่สามารถแลกคะแนนได้อีก
- กรณีลูกค้ามีรายการตัดชำระค่าสาธารณูปโภครายเดือน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รายการดังกล่าวจะถูกยกเลิก หากธนาคารพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน
- หลังจากเปลี่ยนยอดค้างเป็นยอดผ่อนชำระแล้ว กรณีมีรายการใช้จ่ายที่เรียกเก็บมาภายหลัง ลูกค้ายังต้องชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวในบัตรเดิม
- ลูกค้าต้องลงทะเบียนเพื่อขอเข้าร่วมมาตรการ และธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านทาง Email ภายใน 5 วัน หลังจากที่ลูกค้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
- หากท่านเข้าร่วมมาตรการเดิมอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
- ท่านสามารถเลือกลงทะเบียนเพื่อขอรับมาตรการใหม่ได้เพียงทางเลือกเดียว เมื่อลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้ว จะไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้
หากลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิตเป็นผ่อนชำระ 48 งวด และได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการ บัตรเครดิตจะสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน รวมทั้งบัตรเสริม
หากบัตรหลักลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิตเป็นผ่อนชำระ 48 งวด ยอดหนี้ของบัตรเสริมจะถูกนำมารวมด้วยหรือไม่
ธนาคารจะดำเนินการรวบยอดคงค้างทุกบัตร รวมทั้งบัตรเสริมด้วย
มาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิตเป็นผ่อนชำระ 48 งวด จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร
ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก โดยมีระยะเวลา 48 งวด
หากลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ยอดหนี้ของรายการ Smart pay/Smart Pay by phone/Smart Cash จะถูกปิดหรือไม่ และจะถูกนำไปรวมเป็นยอดหนี้ทั้งหมดหรือไม่
กรณีลูกค้ามีรายการผ่อนชำระรายเดือน (Smart Pay / Smart Cash) ธนาคารจะดำเนินการปิดยอดผ่อนชำระทั้งหมด และรวมกับยอดคงค้างอื่น เพื่อเปลี่ยนเป็นยอดผ่อนชำระ 48 งวด อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี และจะคิดอัตราดอกเบี้ยทั้งก้อนด้วยอัตราดอกเบี้ย
12% ต่อปี
หากลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวด และได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการแล้ว บัตรเครดิตไม่สามารถใช้งานได้ คะแนนสะสมจะถูกยกเลิกด้วยหรือไม่
คะแนนสะสมจะถูกยกเลิก ดังนั้นโปรดแลกคะแนนสะสมก่อนเข้าร่วมมาตรการ เนื่องจากหลังจากเข้าร่วมมาตรการแล้วจะไม่สามารถแลกคะแนนได้อีก
หากลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวด และได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการแล้ว ลูกค้าจะได้รับใบแจ้งยอดของบัตรเครดิตตามปกติหรือไม่ หากได้รับใบแจ้งยอดจะแสดงยอดอย่างไร
ลูกค้าจะได้รับเป็นใบแจ้งค่าบริการของสินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan แทน แต่ในกรณีที่ท่านมีรายการใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมหลังจากวันที่ลงทะเบียนธนาคารจะยังคงเรียกเก็บและส่งใบแจ้งยอดบัตรเครดิตตามปกติ
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว สามารถแจ้งยกเลิกได้หรือไม่
เมื่อลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้ว จะไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ก่อนลงทะเบียนโปรดตรวจสอบเงื่อนไขก่อนเข้าร่วมมาตรการ
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว สามารถปิดก่อนครบกำหนดชำระได้หรือไม่ มีค่าปรับหรือไม่
ลูกค้าสามารถชำระเกินกว่าค่างวดและปิดยอดได้ก่อนครบ 48 เดือน โดยไม่มีค่าปรับ (ตามสัญญาของ Xpress Loan ปกติ)
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว จะสามารถสมัครบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดได้อีกหรือไม่ หรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
สามารถยื่นสมัครได้โดยการอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเครดิต เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว จะถือว่ามีประวัติปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่
การเข้าร่วมมาตรการในครั้งนี้จะไม่มีประวัติปรับโครงสร้างหนี้ และไม่มีผลกระทบต่อประวัติการชำระของลูกค้าหากลูกค้าชำระตามปกติ
มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยของบัตรเงินด่วน Xpress Cash มีทั้งหมดกี่ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1: พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชี
ทางเลือกที่ 2: เปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี **ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน กรณีเลือกทางเลือกนี้**
หากเข้าร่วมมาตรการพักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ยไว้แล้ว สามารถเข้าร่วมได้หรือไม่
หากท่านเข้าร่วมมาตรการเดิมอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
มาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวด มีเงื่อนไขอย่างไร
- ลูกค้าต้องไม่ค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 90 วัน หรือ 3 เดือน นับแต่วันครบกำหนดชำระ (NPL) ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
- บัตรของท่านจะถูกยกเลิก กรณีเลือกทางเลือกนี้ (ในระหว่างรอดำเนินการบัตรของท่านจะถูกระงับใช้ชั่วคราวเพื่อคำนวณสินเชื่อ)
- เมื่อลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้ว ธนาคารจะดำเนินการรวมยอดคงค้าง เพื่อเปลี่ยนเป็นยอดผ่อนชำระและธนาคารจะดำเนินการยกเลิกบัตรของท่าน
- กรณีลูกค้าได้รับอัตราดอกเบี้ยบัตรปัจจุบันน้อยกว่า 22% เมื่อเลือกเปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระ 48 งวด อัตราดอกเบี้ยยังคงเดิม
- กรณีลูกค้ามีรายการผ่อนชำระรายเดือน (Smart Pay / Smart Cash) ธนาคารจะดำเนินการปิดยอดผ่อนชำระทั้งหมด และรวมกับยอดคงค้างอื่น เพื่อเปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด และจะคิดอัตราดอกเบี้ยทั้งก้อนด้วยอัตราดอกเบี้ย 22%
ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยบัตรปัจจุบันที่ได้รับกรณีอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันน้อยกว่า 22%
- กรณีลูกค้ามีรายการตัดชำระค่าสาธารณูปโภครายเดือน เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา รายการดังกล่าวจะถูกยกเลิก
- ลูกค้าต้องมีบริการ K PLUS เพื่อรับสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (e-contract) และต้องมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคาร ซึ่งบัญชีต้องเป็นบัญชีชื่อเดียวกับผู้ยื่นคำขอสินเชื่อ เป็นชื่อบัญชีเดี่ยวเท่านั้น ไม่เป็นบัญชี “และ” “หรือ” “เพื่อ”สำหรับการหักชำระค่างวด
/ ค่าอากรแสตมป์
- หลังจากเปลี่ยนยอดค้างเป็นยอดผ่อนชำระแล้ว กรณีมีรายการใช้จ่ายที่เรียกเก็บมาภายหลัง ลูกค้ายังต้องชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวในบัตรเดิม
- ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านทาง Email ภายใน 5 วัน หลังจากที่ลูกค้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
หากลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวด และได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการ บัตรเงินด่วน Xpress Cash จะสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
ธนาคารอาจพิจารณายกเลิกบัตรของท่าน
มาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวด จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร
ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก โดยมีระยะเวลา 48 งวด กรณีลูกค้าได้รับอัตราดอกเบี้ยบัตรปัจจุบันน้อยกว่า 22% เมื่อเลือกเปลี่ยนยอดคงค้างเป็นยอดผ่อนชำระ 48 งวด อัตราดอกเบี้ยยังคงเดิม
หากลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ยอดหนี้ของรายการ Smart pay/Smart Pay by phone/Smart Cash จะถูกปิดหรือไม่ และจะถูกนำไปรวมเป็นยอดหนี้ทั้งหมดหรือไม่
ธนาคารจะดำเนินการปิดยอดผ่อนชำระทั้งหมด และรวมกับยอดคงค้างอื่น เพื่อเปลี่ยนเป็นผ่อนชำระ 48 งวด อัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี และจะคิดอัตราดอกเบี้ยทั้งก้อนด้วยอัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยบัตรปัจจุบันที่ได้รับกรณีอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันน้อยกว่า
22%
หากลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวด และได้รับอนุมัติเข้าร่วมมาตรการแล้ว ลูกค้าจะได้รับใบแจ้งยอดของบัตรเงินด่วน Xpress Cash ตามปกติหรือไม่ หากได้รับใบแจ้งยอดจะแสดงยอดอย่างไร
จะได้รับเป็นใบแจ้งค่าบริการของสินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan แทน แต่ในกรณีที่ท่านมีรายการใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติมหลังจากวันที่ลงทะเบียนธนาคารจะยังคงเรียกเก็บและส่งใบแจ้งยอดบัตรเงินด่วน Xpress Cash ตามปกติ
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดหนี้เป็นสินเชื่อผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว สามารถแจ้งยกเลิกได้หรือไม่
เมื่อลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้ว จะไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ก่อนลงทะเบียนโปรดตรวจสอบเงื่อนไขก่อนเข้าร่วมมาตรการ
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว สามารถปิดก่อนครบกำหนดชำระได้หรือไม่ มีค่าปรับหรือไม่
ลูกค้าสามารถชำระเกินกว่าค่างวดและปิดยอดได้ก่อนครบ 48 งวด โดยไม่มีค่าปรับ
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว จะสามารถสมัครบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดได้อีกหรือไม่ หรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
สามารถยื่นสมัครได้โดยการอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของธนาคาร
หากเข้าร่วมมาตรการเปลี่ยนยอดคงค้างบัตรเงินด่วน Xpress Cash เป็นผ่อนชำระ 48 งวดแล้ว จะถือว่ามีประวัติปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่
การเข้าร่วมมาตรการในครั้งนี้จะไม่มีประวัติปรับโครงสร้างหนี้ และไม่มีผลกระทบต่อประวัติการชำระของลูกค้าหากลูกค้าชำระตามปกติ
มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยของสินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan มีทั้งหมดกี่ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1: พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชี
ทางเลือกที่ 2: ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 รอบบัญชี อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี
ลูกค้าที่ได้รับมาตรการช่วยเหลือมาตรการเดิมมาแล้ว สามารถขอเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยได้ทุกมาตรการหรือไม่
ลูกค้าสามารถเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยได้ แต่ต้องเลือกมาตรการใดมาตรการหนึ่ง (แนะนำให้ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง)
มาตรการลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน หมายความว่าอย่างไร
ลดค่างวดไป 30% เช่น ปกติลูกค้าต้องชำระเดือนละ 1000 บาท จะลดเหลือชำระเดือนละ 700 บาท
ลูกค้าจะทราบได้อย่างไรว่ามาตรการลดค่างวด 30% ครบ 6 เดือนแล้ว
ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้จากใบแจ้งยอดบัญชี
ธนาคารกำหนดให้ลูกค้าชำระค่างวดต่อเดือนทุกวันที่ 25 จำนวน 5000 บาท ลูกค้าสามารถผ่อนชำระหนี้บางส่วนได้หรือไม่
ลูกค้าสามารถชำระหนี้บางส่วนได้ แต่ต้องชำระให้ครบ 5000 บาท ภายในวันที่ 25 ของเดือน
หากลูกค้าสามารถกลับมาชำระค่างวดตามสัญญาเดิมได้แล้ว สามารถขอยกเลิกจากการเข้ามาตรการได้หรือไม่
สามารถขอยกเลิกการเข้าร่วมมาตรการได้ โดยแจ้งที่ K-Contact Center 02-8888888
กรณีลูกค้าชำระล่วงหน้ามาก่อนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือฯ จะมีผลอย่างไร และต้องชำระตามเงื่อนไขมาตรการเมื่อไร
ยอดที่ชำระล่วงหน้าก่อนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือจะถูกนำไปชำระยอดเงินกู้คงค้าง (เงินต้น + ดอกเบี้ย) และลูกค้าจะเริ่มชำระตามเงื่อนไขของมาตรการช่วยเหลือฯ ในรอบบัญชีนี้ เมื่อลูกค้าได้ลงทะเบียนล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระ
มาตราการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ของสินเชื่อบ้านมีทั้งหมดกี่ทางเลือก
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.10% เป็นเวลา 3 เดือน
- ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 3 เดือน
- ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 เดือน
หมายเหตุ : ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 ยังมีการคำนวณดอกเบี้ยปกติ
ลูกค้าสามารถตรวจสอบค่างวดที่ต้องชำระได้ช่องทางใด
สามารถตรวจสอบยอดชำระได้จากแอพพลิเคชั่น K PLUS และติดต่อสอบถามได้ที่ K Contact center 02-8888888
หากลูกค้าไม่สามารถชำระได้ตามที่มาตรการกำหนด ธนาคารมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร
ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามผ่าน K Contact center 02-8888888 ได้
ธนาคารกำหนดให้ลูกค้าชำระค่างวดต่อเดือนทุกสิ้นเดือน จำนวน 5000 บาท ลูกค้าสามารถผ่อนชำระหนี้บางส่วนได้หรือไม่
ลูกค้าสามารถชำระหนี้บางส่วนได้ แต่ต้องชำระให้ครบ 5000 บาท ภายในวันสิ้นเดือน
หลังจากสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือแล้ว หากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาชำระตามปกติได้ ธนาคารมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร
ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามผ่าน K Contact center 02-8888888 ได้
ลูกค้าที่ได้รับมาตราการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยมาแล้ว สามารถขอต่อมาตราการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยได้ทุกทางเลือกหรือไม่
ลูกค้าสามารถต่อได้ แต่ต้องเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง
หากลูกค้าสามารถกลับมาชำระค่างวดตามสัญญาเดิมได้แล้ว สามารถขอยกเลิกจากการเข้ามาตรการได้หรือไม่
สามารถขอยกเลิกการเข้าร่วมมาตรการได้ โดยแจ้งที่ K-Contact Center 02-8888888
มาตราการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทั้ง 3 ทางเลือก มีความแตกต่างกันและเหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างไร อยากให้ธนาคารแนะนำ
ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามความประสงค์ หากให้ธนาคารแนะนำ ขออนุญาตแนะนำดังนี้
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.10% เป็นเวลา 3 เดือน > เหมาะสำหรับลูกค้าที่ยังสามารถชำระได้ในบางส่วนของค่างวด ซึ่งสามารถตรวจสอบดอกเบี้ยต่องวดในงวดก่อนหน้า เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ แต่มาตรการนี้ค่างวดที่ชำระเข้ามาจะตัดชำระได้เฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น
- ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 3 เดือน > เหมาะสำหรับลูกค้าที่ยังสามารถชำระได้ในบางส่วนของค่างวด และหากดอกเบี้ยต่องวดน้อยกว่า 50% ในส่วนต่างนั้น จะนำไปตัดชำระเงินต้นเพิ่มเติมได้
- ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 เดือน > เหมาะสำหรับลูกค้าที่ขาดสภาพคล่อง และไม่สามารถชำระค่างวดได้ การพักชำระจะเหมาะสมมากที่สุด โดยหากสิ้นสุดมาตรการแล้ว ค่างวดที่ชำระจะนำไปตัดดอกเบี้ยคงค้างก่อน
แล้วจึงจะนำมาตัดเงินต้น
หมายเหตุ : ทั้งนี้ ทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 ยังมีการคำนวณดอกเบี้ยปกติ
หลักเกณฑ์ที่จะได้พิจารณาอนุมัติ
- ลูกค้าที่มีสินเชื่อเงินด่วน แบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ กับทางธนาคารกสิกรไทย
- ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน หรือธุรกิจที่ปิดบริการชั่วคราวตามประกาศทางราชการ
- ลูกค้าต้องไม่มีวันค้างชำระเกิน 90 วัน (ไม่มีสถานะเป็น NPL) ณ วันที่ 1 มี.ค. 63
ลูกค้าสามารถขอลงทะเบียนรับสิทธิ์ ผ่านช่องทางไหน
ลูกค้าสามารถลงเบียนผ่านช่องทาง LINE KBank Live โดยพิมพ์@help ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. 2564
แนวทางการช่วยเหลือของมาตรการสินเชื่อ KCL มีกี่แบบ
แนวทางการช่วยเหลือของมาตรการสินเชื่อ KCL มี 3 มาตรการ
- มาตรการ 1 : จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- มาตรการ 2 : ลดยอดผ่อนชำระ 30% เป็นระยะเวลา 3 เดือน
- มาตรการ 3 : พักชำระต้นเงินและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน
โดยลูกค้า สามารถเลือกได้ 1 มาตรการ เท่านั้น
มาตรการลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ขยายเวลาผ่อนคืออะไร
ลดจากส่วนที่ต้องชำระงวดรายเดือนทั้งหมดโดยยอดที่ลดคิดเป็น 30% เช่น ปกติจ่ายเดือนละ 1000 จะลดเหลือ 700 บาท/เดือน
มีแนวทางการช่วยเหลือของมาตรการสินเชื่อ KCLนอกเหนือจาก 3 มาตรการข้างต้นหรือไม่
ลูกค้าสามารถเลือกได้ตามมาตรการที่ธนาคารนำเสนอเท่านั้น
ถ้าเลือก มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เปลี่ยนใจต้องการเลือกใหม่ สามารถทำได้หรือไม่
หากลูกค้าเลือกมาตรการใดมาตรการหนึ่งแล้ว ไม่สามารถขอเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ก่อนลงทะเบียนโปรดตรวจสอบเงื่อนไขก่อนเข้าร่วมมาตรการ
ถ้าต้องการให้มาตรการมีผลสำหรับงวดเดือนนี้ จะต้องทำภายในวันที่เท่าใด
ลูกค้าต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการก่อนตัดรอบบิลของลูกค้าอย่างน้อย 10 วัน เพื่อให้มาตรการมีผลในรอบบิลนี้ หากลูกค้าแจ้งน้อยกว่า 10 วันก่อนตัดรอบบิล จะมีผลในรอบบิลถัดไป เช่น ลูกค้ามีกำหนดตัดรอบบิลวันที่ 31 ม.ค. 2564 ลูกค้าต้องลงทะเบียนก่อนวันที่
21 ม.ค. 2564 เพื่อให้มีผลในรอบบิลของเดือน ม.ค. 2564
ถ้าต้องการยกเลิกการเข้าร่วมมาตราการ ต้องทำอย่างไร
ลูกค้าติดต่อผ่าน K-BIZ Contact Center 028888822 เพื่อทำการยกเลิก แต่หากแจ้งความประสงค์ยกเลิกแล้ว จะไม่สามารถกลับมาขอเข้ามาตรการได้อีกครั้ง
หลังจากสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือแล้ว หากลูกค้ายังไม่สามารถกลับมาชำระตามปกติได้ ธนาคารมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร
ลูกค้าสามารถขอรับคำปรึกษากับธนาคารโดยสามารถแจ้งความประสงค์ผ่าน K BIZ Contact Center 028888822 ได้
หากลูกค้ามีมาตรการเดิมอยู่ จะขอเข้าร่วมมาตรการใหม่ในครั้งนี้ ควรมาขอในเดือนใด
หากท่านเข้าร่วมมาตรการเดิมอยู่แล้ว แนะนำให้ท่านลงทะเบียนล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน ก่อนมาตรการเดิมจะสิ้นสุดลง
หากลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการแล้ว จะได้รับแจ้งผลการพิจารณาผ่านช่องทางใด
แนะนำลูกค้ารอ SMS แจ้งผลการเข้าร่วมมาตรการ ภายใน 10 วันทำการ
ลูกค้าสามารถตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระได้จากที่ใด
สามารถตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระได้ผ่าน K-Plus
หลังจากหมดช่วงระยะเวลามาตรการ ต้องชำระหนี้อย่างไร
หลังจากจบมาตรการ ลูกค้ากลับมาชำระหนี้ตามปกติ
หมายเหตุ:
สำหรับกรณีลูกค้าเลือก "ทางเลือกที่ 3: พักชำระต้นเงินและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 3 เดือน" จะเกิดดอกเบี้ยค้างชำระระหว่างเข้ามาตรการ โดยหากสิ้นสุดมาตรการแล้ว ค่างวดที่ชำระจะนำไปตัดดอกเบี้ยคงค้างก่อน แล้วจึงจะนำมาตัดเงินต้น
ระยะเวลาการผ่อนหลังจากจบมาตรการแล้ว จะเป็นอย่างไร
หากมียอดค้างชำระ จะมีการเรียกเก็บเพิ่มจากตารางข้างต้น และทั้งนี้ระยะเวลาการผ่อนชำระ ขึ้นอยู่กับเงินต้นคงเหลือ และอัตราดอกเบี้ยประกาศตามเกณฑ์ธนาคาร