9/3/2561

SME ปรับกลยุทธ์ รับราคาพืชเกษตรดิ่ง

​​​​​​       จากสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรในปี 2560 ที่ผ่านมา ที่ได้เผชิญแรงกดดันรอบด้านทั้งปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ภาพรวมราคาสินค้าเกษตรหลักอย่างข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ สำหรับในปี 2561 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จะยังเป็นปีที่ภาพของราคาสินค้าเกษตรจะยังคงไม่สดใสนัก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรที่คาดว่า ในปี 2561 รายได้เกษตรกรรวมอาจขยายตัวร้อยละ -2.0 ถึง 2.0 (YoY) จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 (YoY) ในปีก่อน ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อฐานรากยังไม่ฟื้นตัวมากนัก จากแนวโน้มราคาพืชเกษตรในระดับต่ำ​


       จากแนวโน้มของราคาสินค้าเกษตรในปี 2561 ที่อาจลดลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในกลุ่มต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้​


       จากแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง ได้ส่งผลกระทบตลอดสายการผลิต ทั้งเกษตรกรและภาคธุรกิจ อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการอาจต้องมีการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน​


       ผู้ประกอบการ SME ยังคงต้องติดตามประสิทธิผลของนโยบายภาครัฐในการเข้ามาช่วยพยุงราคา หรือประคับประคองสถานการณ์ด้านราคาของพืชเกษตร โดยมาตรการภาครัฐในปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายควบคุมผลผลิตข้าว การส่งเสริมการปลูกข้าวที่มีคุณภาพ มาตรการจำกัดการส่งออกยางพารา การเพิ่มการใช้ยางในประเทศ การลดปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ เป็นต้น รวมถึงติดตามประเด็นอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรในระยะข้างหน้า เช่น ปริมาณสต็อกยางพาราของจีน ปริมาณผลผลิตอ้อยของโลก เป็นต้น

ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทวิเคราะห์ฉบับเต็ม…


ดาวน์โหลดบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม


 

สินเชื่อที่เกี่ยวข้อง : สินเชื่อและบริการยอดฮิต​​​​​​