เงินฝืด (Deflation) คืออะไร? เข้าใจสาเหตุพร้อมผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน

เงินฝืด หรือ Deflation คำยอดฮิตที่มักได้ยินจากนักวิเคราะห์การลงทุนเวลาวิเคราะห์สถานการณ์ตลาด หลายคนอาจ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ถึงสาเหตุและผลกระทบที่แท้จริงของเงินฝืด K WEALTH อธิบายแบบเข้าใจง่ายไว้ให้แล้ว

• ภาวะเงินฝืด (Deflation) หมายถึงสภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการในระบบเศรษฐกิจลดลง ทำให้ผู้ขายต้องลดราคาเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น


• ภาวะเงินฝืดส่งผลให้รายได้ของประชาชนและธุรกิจลดลง ในระยะยาวอาจนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ การลงทุนที่เหมาะสมในช่วงนี้ ได้แก่ เงินสด ตราสารหนี้ และทองคำ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยสำหรับนักลงทุน




ในช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะเคยอ่านข่าวหรือได้ยินเกี่ยวกับ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ เศรษฐกิจหดตัวในหลายประเทศ ซึ่งจะมาคู่กันกับ “ภาวะเงินฝืด” หลายคนอาจจะสงสัยและยังไม่เข้าใจคำว่า “ภาวะเงินฝึด” รวมถึงมีหลายคำถามที่ตามมา เช่น เงินฝืดจะส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง แล้วแตกต่างกับ “เงินเฟ้อ” อย่างไร K WEALTH จะมาอธิบายให้เข้าใจกัน



ภาวะเงินฝืด คืออะไร?
what-is-deflation.jpg

ภาวะเงินฝืดคือ สภาวะการลดลงของ “ความต้องการด้านสินค้าและบริการ” เนื่องจากเกิดความกังวลทำให้คนไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อบุคคลทั่วไป โดยในระยะสั้น ภาวะเงินฝืดจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เนื่องจากสินค้าและบริการจะมีราคาลดลง ช่วยเพิ่มกําลังการซื้อและการใช้บริการได้มากขึ้น ด้วยเงินจํานวนเท่ากัน แต่ในระยะยาว ภาวะเงินฝืดอาจทําให้เกิดการผลิตที่ลดลง เนื่องจากบริษัทต่างๆ ขายสินค้าหรือบริการได้น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการด้านแรงงานลดลงไปด้วย เนื่องจากการลดกำลังการผลิต และรายได้ของผู้บริโภคลดลง นอกจากนี้ ภาวะเงินฝืดอาจทําให้การลงทุนโดยทั่วไปลดลงได้ เนื่องจากนักลงทุนลังเลที่จะนำเงินมาลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจประสบกับภาวะเงินฝืด



เงินฝืด กับ เงินเฟ้อ คู่แตกต่างที่ห่างกันคนละด้าน

ภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่ตรงข้ามกัน เปรียบเหมือนน้ำ กับ ไฟ ซึ่งอาจแยกรายละเอียดต่างๆ ออกมาได้ดังนี้



เงินเฟ้อ
เงินฝืด
นิยาม
การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการทั่วไป
โดยราคาสินค้าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเงินที่เราเคยจ่ายไป (ใช้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ของเท่าเดิม)
การลดลงของราคาสินค้าและบริการทั่วไป
สาเหตุ
ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น และมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย
ความต้องการสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้น
ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย
ความต้องการสินค้าและบริการ ลดลง
ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ลดลง

ผลกระทบ
การลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้น
การผลิตสินค้าและบริการ เพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น
การลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ลดลง
การผลิตสินค้าและบริการ ลดลง
อัตราการว่างงาน เพิ่มสูงขึ้น


สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด
causes-of-deflation.jpg

สาเหตุหลักของเงินฝืดมาจากอุปสงค์หรือความต้องการซื้อสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจลดลง ทำให้ผู้ขายต้องลดราคาลงเพื่อจูงใจให้คนซื้อมากขึ้น โดยความต้องการที่ลดลงอาจเกิดจากคนไม่มีเงินใช้จ่าย หรือไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ จึงชะลอการใช้จ่ายออกไป


ภาวะเงินฝืดถือเป็นสถานการณ์ที่ไม่ดีสำหรับระบบเศรษฐกิจ เพราะจะทำให้ธุรกิจขายสินค้าได้น้อยลง จนอาจต้องปิดกิจการ ทำให้คนงานตกงาน และส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมถดถอยหากเกิดเงินฝืดรุนแรงและยืดเยื้อ


สรุป เงินฝืดคือภาวะที่ราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจลดลง ส่งผลให้รายได้ของประชาชนและธุรกิจลดลง และอาจนำไปสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจได้หากรุนแรง



ตัวอย่างภาวะเงินฝืดที่เคยเกิดขึ้นในไทย

ตัวอย่างของภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่หลายคนอาจจะพอนึกออก คือช่วงวิกฤตการเงินในไทยปี 2540 หรือเรียกกันอย่างติดปากว่า “ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเชียประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ประชาชนทั่วไปมีความกังวล ไม่กล้าออกมาจับจ่ายใช้สอย หลายบริษัทต้องลดการผลิต ส่งผลให้มีการว่างงานเพิ่มขึ้น


ภาครัฐต้องดําเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจหลายรูปแบบ รวมถึงการปรับนโยบายการคลังต่างๆ เช่น เพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ ตลอดจนการปรับโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยควบคุมภาวะเงินฝืดและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ



การลงทุนที่เหมาะสมในช่วงภาวะเงินฝืด

• เงินสด หรือกองทุนตลาดเงิน

เพื่อรักษาสภาพคล่องและรอการลงทุนในโอกาสที่ดีขึ้น นักลงทุนอาจพิจารณาเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง อย่างบัญชีเงินฝาก K-eSavings หรือพักเงินไว้ในกองทุนตลาดเงิน อย่างกองทุน K-CASH


• พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนตราสารหนี้

ในภาวะเงินฝืด อัตราดอกเบี้ยมักจะลดลง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภายในประเทศ พันธบัตรรัฐบาลจึงให้ ผลตอบแทนที่ดีขึ้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้น้อย หรือการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ อย่าง กองทุน K-SF, K-SFPLUS, K-FIXED, K-FIXEDPLUS หรือกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก อย่างกองทุน K-GB ก็เป็นอีก ทางเลือกที่น่าสนใจและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น


• ทองคำ

สินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมในช่วงภาวะเงินฝืดคือ ทองคำ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนมักเลือกลงทุนเพื่อ รักษาความมั่นคงซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในภาวะเศรษฐกิจถดถอย



Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”