รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี? วิธีคำนวณภาษีและเคล็ดลับลดหย่อนภาษีปี 2024

• คนเงินเดือน 26,000 บาทขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ต้องเริ่มจ่ายภาษีนั้น สามารถจัดการภาษีได้ด้วยการนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ มาคำนวณเพื่อลดภาษีที่ต้องจ่ายหรือขอคืนภาษีได้


• ดอกเบี้ยเงินฝากที่แทบทุกคนต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% นั้น สำหรับคนที่มีเงินเดือนไม่เกิน 55,000 บาท สามารถขอคืนภาษีที่ถูกหักไปบางส่วน หรือนำไปชดเชยกับภาษีที่ต้องจ่ายตอนยื่นภาษีได้ หรือคนที่ได้รับเงินปันผลจากหุ้นสามัญ หากเงินเดือนไม่เกิน 180,000 บาท ก็สามารถขอคืนภาษีบางส่วนจากเงินปันผลหุ้นได้เช่นกัน




เงินเดือนที่เพิ่มขึ้น ใช่ว่าทำให้มีเงินใช้จ่ายมากขึ้นเท่ากันเสมอไป เพราะเงินเดือนย่อมตามมาด้วยภาษีบุคคลธรรมดา ที่ยิ่งเงินเดือนสูงอัตราเสียภาษีก็ยิ่งสูงตาม การรู้จักวีธีการจัดการภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยที่สุดอย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน


I: รายได้ที่ต้องเสียภาษี ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

รายได้มนุษย์เงินเดือนหลักๆ ประกอบด้วย (1) เงินเดือน ที่ได้คงที่ทุกเดือน และเป็นฐานในการคำนวณรายได้และสวัสดิการอื่น (2) เงินโบนัส เงินรางวัล ซึ่งจำนวนที่ได้รับขึ้นกับผลประกอบการบริษัทหรือผลงานของพนักงานแต่ละคน (3) ค่าล่วงเวลา หรือค่าโอที และ (4) ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่ได้จากการทำงานนอกสถานที่ เป็นต้น โดยรายได้ (1) ถึง (3) เป็นรายได้ที่ต้องนำไปคำนวณภาษี ส่วนรายได้ (4) จะมีทั้งส่วนที่คำนวณและไม่คำนวณภาษี ขึ้นกับจำนวนเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับ



II: วิธีคำนวณภาษี เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี?

การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) คำนวณหา “เงินได้สุทธิ” จากสมการ “เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย – ค่าลดหย่อน” และ (2) นำเงินได้สุทธิเข้าตารางภาษี เพื่อคำนวณภาษีตามแต่ละขั้นภาษี


ตัวอย่างเช่น คนเงินเดือน 100,000 บาท ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมเดือนละ 750 บาท และจ่ายเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดือนละ 3% ของเงินเดือน ตัวอย่างนี้ เงินได้สุทธิ คำนวณได้โดย

เงินได้พึงประเมินทั้งปี = 100,000 บาทต่อเดือน x 12 เดือน = 1.2 ล้านบาท

ค่าใช้จ่าย ขึ้นกับประเภทรายได้ โดยเงินเดือน โบนัส ฯลฯ ถือเป็นเงินได้ 40(1) ที่สรรพากรให้หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นกรณีนี้จึงหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท

ค่าลดหย่อน หากไม่ได้มีการใช้สิทธิลดหย่อนอื่นอีก จากตัวอย่างค่าลดหย่อนประกอบด้วย ลดหย่อนผู้มีเงินได้ 60,000 บาท ลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม 9,000 บาท (= 750 บาทต่อเดือน x 12 เดือน) ลดหย่อนเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 36,000 บาท (= เงินเดือน 100,000 บาทต่อเดือน x 3% ของเงินเดือน x 12 เดือน) รวมค่าลดหย่อนเป็น 105,000 บาท

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย – ค่าลดหย่อน = 1,200,000 – 100,000 – 105,000 = 995,000 บาท >> นำไปคำนวณภาษี แต่ละขั้นภาษี ซึ่งตัวอย่างนี้ฐานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 20%

ภาษีบุคคลธรรมดา ที่ต้องจ่ายของตัวอย่างนี้อยู่ 114,000 บาท


ตัวอย่างการคำนวณภาษี จากรายได้ของคนที่มีเงินเดือน 100,000 บาท” แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก 1. คำนวณหา “รายได้สุทธิ” 2. นำเงินได้สุทธิ

จากวิธีการคำนวณภาษีจะเห็นว่า คนที่เริ่มเสียภาษี คือ คนที่มีเงินได้สุทธิปีละ 150,000 บาทขึ้นไป หรือเทียบเท่ากับคนเงินเดือนประมาณ 26,000 บาทขึ้นไป โดยรายได้ยิ่งสูงขึ้น เงินได้สุทธิก็ยิ่งสูง ภาษีที่ต้องจ่ายก็ยิ่งสูงขึ้นตาม


III: สิทธิลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง? วิธีลดหย่อนภาษีอย่างมืออาชีพ

หนึ่งในทางเลือกการลดภาษีในแต่ละปี คือ การเพิ่มค่าลดหย่อนให้มากขึ้น เพื่อเงินได้สุทธิที่นำไปเข้าตารางภาษีลดลง โดยค่าลดหย่อนที่ใช้ได้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) ค่าลดหย่อนจากค่าใช้จ่าย ที่เป็นเงินที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว เพียงนำหลักฐานการจ่ายเงินมายื่นใช้สิทธิ (2) ค่าลดหย่อนจากสิทธิหรือสถานภาพครอบครัว เสมือนเป็นสิทธิได้เปล่าหากมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข (3) ค่าลดหย่อนจากเงินออม/ลงทุนเพิ่ม ที่เป็นการนำเงินเก็บหรือรายได้ไปออมหรือลงทุนในทางเลือกที่ได้รับผลประโยชน์ทางภาษี เพิ่มเติมจากผลตอบแทนการลงทุน


เมื่อคุณรู้แล้วว่า รายได้ เงินเดือนที่คุณได้รับ ต้องเสียภาษีเท่าไร หนึ่งในทางเลือกการลดภาษีในแต่ละปี คือ การเพิ่มค่าลดหย่อนให้มา



IV: กลยุทธ์การจัดการภาษีเพื่อลดภาระภาษีในปี 2024

1) เลือกลดหย่อนเงินออม/ลงทุนเพิ่ม ให้เหมาะสม

• ต้องการผลตอบแทน แนะนำเลือกลงทุนในกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสมที่มีโอาสให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว ได้แก่ กองทุน TESG เช่น K-TNZ-ThaiESG ฯลฯ กองทุน SSF เช่น K-CHANGE-SSF, K-GINCOME-SSF ฯลฯ และกองทุน RMF เช่น WPULTIMATERMF, WPBALANCEDRMF ฯลฯ หรือพิจารณาจาก กองทุนแนะนำประจำเดือนของ K WEALTH คลิกที่นี่


• ต้องการลงทุนเพื่อเป้าหมายที่ตั้งใจ ควรเลือกให้สอดคล้องกับระยะเวลา เช่น

o เป้าหมายเกษียณอายุ แนะนำเลือกกองทุน RMF ประกันบำนาญ ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์/เกษียณอายุ กองทุน SSF กองทุน TESG ที่มีระยะเวลาการลงทุนหรือได้รับเงินคืนสอดคล้องกับอายุที่เกษียณ ตามลำดับ

o เป้าหมายการศึกษาลูกในอีก 10 ปีข้างหน้า แนะนำเลือกประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ กองทุน SSF กองทุน TESG ตามลำดับ ที่มีระยะเวลาสัญญา 10 ปี หรือมีเงื่อนไขการถือหน่วยลงทุน 10 ปี และ 5 ปี เป็นต้น


• ต้องการมีหลักประกันให้กับคนในครอบครัว ที่ด้วยเบี้ยประกันปีละ 1 แสนบาท สำหรับผู้ชายอายุ 40 ปี

o หากเลือกประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/5 หรือประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ 99/9 จะสามารถสร้างทุนประกันชีวิตได้สูงถึง 1.1 ล้านบาท และ 1.7 ล้านบาทตามลำดับ

o หากต้องการเงินสะสมไว้ใช้ยามเกษียณส่วนหนึ่งควบคู่ไปกับการสร้างทุนประกันชีวิต หากเลือกประกันชีวิต ครบ 70ปี มีใช้ จะสามารถสร้างทุนประกันชีวิตได้ 1.2 ล้านบาท และได้รับเงินก้อนครบสัญญา 1.2 ล้านบาท ตอนอายุ 70 ปี เพื่อนำไปใช้จ่ายหลังเกษียณ


2) เลือกขอคืนภาษีจากดอกเบี้ยหรือเงินปันผล สำหรับคนที่มีเงินเดือน ที่ฐานภาษีต่ำกว่า 10% 15% และ 30% สามารถนำรายได้จากเงินปันผลกองทุน ดอกเบี้ยเงินฝาก/พันธบัตร/หุ้นกู้ และเงินปันผลจากหุ้นสามัญ ตามลำดับ ไปรวมยื่นภาษีกับเงินเดือน เพื่อขอคืนภาษีบางส่วนได้ เช่น คนที่ไม่ได้มีค่าลดหย่อนอื่นนอกจากประกันสังคม และไม่มีรายได้อื่นนอกจากเงินเดือน หาก


• เงินเดือนไม่เกิน 39,000 บาท หรือฐานภาษีไม่เกิน 5% สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินปันผลกองทุน ดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินปันผลหุ้นได้


• เงินเดือนไม่เกิน 55,000 บาท หรือฐานภาษีไม่เกิน 10% สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินปันผลหุ้นได้ • เงินเดือนไม่เกิน 180,000 บาท หรือฐานภาษีไม่เกิน 25% สามารถขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินปันผลหุ้นได้


ภาษี เรื่องใกล้ตัวที่ต้องยื่น จ่ายเพิ่มหรือขอคืนกันอยู่ทุกปี อย่าปล่อยให้ความไม่เข้าใจมาทำให้ต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่จำเป็นหรือพลาดโอกาสในการขอคืนในแต่ละปี อีกทั้งจากบทความนี้ของ K WEALTH เห็นได้ว่าวิธีการลดภาษีหรือขอคืนภาษี ไม่ได้มีแค่เพียงการเลือกใช้กองทุน TESG/SSF/RMF และประกันชีวิต/สุขภาพเท่านั้น แต่การขอคืนภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากที่ทุกคนมีอยู่แล้วนั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทุกคนควรจัดการ


Disclaimer: “ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน”, “ตัวอย่างภาษีที่แสดงเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น”


คำเตือน


ผู้เขียน

K WEALTH Trainer ราชันย์ ตันติจินดา CFP®
Back to top